logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=50869

“วิทยา” กำชับบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินให้ซ้อมแผนสม่ำเสมอและพร้อมรับเหตุ 24 ชั่วโมง

          นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมชี้แจงนโยบายและกำกับติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินในปี 2556 ให้กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ผู้บริหารและผู้ปฎิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จากทั่วประเทศจำนวน 220 คน  ที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต  จ.ปทุมธานี และกล่าวว่า  จากนโยบายของรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ์ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น” เพื่อดูแลประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยสูงสุด โดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกโรงพยาบาลคือก่อนที่จะส่งผู้ป่วยถึงมือแพทย์ และในโรงพยาบาลคือเมื่อส่งต่อผู้ป่วยถึงมือแพทย์แล้ว   ซึ่งเป็นงานบริการที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาระบบให้ดีขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาชีวิตของผู้เจ็บป่วยให้ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด  โดยทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน

          นายวิทยากล่าวว่า ทุกวันนี้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เราไม่รู้เลยว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อใด และไม่รู้ว่าภัยพิบัติจะเกิดขึ้นเมื่อใดและรุนแรงแค่ไหน ดังนั้นขอให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินทุกคนเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ในการช่วยเหลือชีวิต และวิธีการที่จะใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆไม่ว่าจะเกิดเหตุหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากในการทำงานด้านแพทย์ฉุกเฉิน จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน  ต้องมีการประสานงานเพื่อการปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ถึงแม้ไม่มีเหตุอะไรเกิดขึ้นก็จะต้องมีการซ้อมแผนเป็นประจำและสม่ำเสมอ มีการจำลองเหตุการณ์หรือสถานการต่างๆว่าหากมีสถานการณ์เช่นนี้ ต้องใช้แผนใดในการดำเนินงาน ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรบ้าง และเจ้าหน้าที่ต้องมีทักษะในการช่วยชีวิตผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ประสบเหตุในสถานการณ์นั้นๆ การเตรียมความพร้อมหรือซ้อมแผนเป็นประจำหรือต่อเนื่องก็ถือว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า

26 ตุลาคม 2555

Next post > เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ 80 พรรษา รวมพลังจิตอาสาเย็บเต้านมเทียม 8,000 เต้า

< Previous post “หมอสุรวิทย์” สั่งฉีดปูพรมวัคซีนป้องกันโรคคอตีบจ.เลย 5 แสนโด๊ส

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด