logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-50-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87

ตะลึง..ผลสำรวจชี้ เด็กไทยเข้าถึงบุหรี่แบ่งมวนง่ายดาย มากกว่า 50% รุ่นพี่ขายให้รุ่นน้อง

       เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงประเด็น “ยุติการให้เด็กขายบุหรี่” ว่า จากการสำรวจอัตราการสูบบุหรี่ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการสูบลดลงตลอด โดยในปี 2554 มีอัตราการสูบอยู่ที่ ร้อยละ 21.36 แต่แนวโน้มการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 15- 18 ปี อยู่ที่ร้อยละ 9.2 สูงจาก 10 ปีที่แล้วคือในปี 2544 มีอัตราการสูบเพียง ร้อยละ 6.44 และพบเยาวชนเริ่มสูบบุหรี่อายุต่ำสุดที่ 6 ปี ส่วนกลุ่มอายุ 19-24 ปี มีอัตราสูบบุหรี่ลดลงต่ำสุดในปี 2547 อยู่ที่ร้อยละ 20.9 และเพิ่มสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 22 ในปี 2554  สาเหตุเพราะเยาวชนสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ง่าย จึงจำเป็นต้องเร่งหามาตรการปกป้องเยาวชนไทยไม่ให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ โดยควรต้องปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ และมีการบังคับใช้ได้จริง
 
       ผศ.ดร.ศรีรัช ลาภใหญ่ นักวิชาการคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ในเรื่องการซื้อขายบุหรี่ พบว่า เยาวชนร้อยละ 56.1 ระบุว่า มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง หรือเพื่อนในโรงเรียนนำบุหรี่มาแบ่งขายเป็นมวนๆ ในโรงเรียน รวมทั้งสามารถหาซื้อบุหรี่ได้จากทั้งหน้าโรงเรียน ร้านชำแถวบ้าน โดยพบว่ามีร้านค้าจำนวนมากที่ขายบุหรี่แบ่งมวนๆ ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ74.4 ระบุว่า สามารถซื้อบุหรี่ได้ง่ายๆ เพราะผู้ขายไม่เคยขอดูบัตรประชาชน ทำให้เด็กสามารถเข้าถึงบุหรี่ได้อย่างง่าย สะดวก รวดเร็ว
 
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลักขณา  เติมศิริกุลชัย  หัวหน้าภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  ให้ความเห็นว่า  ร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบใหม่จะช่วยให้เด็กสูบบุหรี่น้อยลง  เพราะได้เพิ่มอายุขึ้นต่ำที่จะซื้อบุหรี่จากเดิมอายุ 18 ปี เป็น 20 ปี   และห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีขายบุหรี่  รวมทั้งห้ามวิธีการขายที่เด็กๆ จะเข้าถึงได้ง่าย  อาทิ  ห้ามขายทางอินเตอร์เน็ต  ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบบุหรี่ซิกาแรตต่ำกว่าซองละยี่สิบมวน ห้ามแบ่งขายเป็นมวนๆ  ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในสถานศึกษา
 
       นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวว่า ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ทำให้รัฐมีหน้าที่ต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กให้พ้นจากสิ่งผิดกฎหมาย ยาเสพติด สารมีพิษให้โทษ เพื่อให้ได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งกฎหมายเพื่อคุ้มครองไม่ให้เด็กกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ ทั้งการขยายอายุในการซื้อบุหรี่ และห้ามไม่ให้เด็กเกี่ยวข้องกับการขายบุหรี่ ถือเป็นการคุ้มครอง ปกป้องไม่ให้เด็กและเยาวชน ไม่ให้ตกอยู่ภาวะที่มีอันตรายต่อสุขภาพ และมองเห็นว่าสิ่งที่เป็นพิษต่อสุขภาพเป็นเรื่องปกติ ถือว่าไม่ใช่การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของเด็กแต่อย่างใด เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายทำเพื่อปกป้องสุขภาพ ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศในการคุ้มครองสิทธิเด็กด้วย

24 ตุลาคม 2555

Next post > ห่วงพยาบาลเจอ 2 เด้ง เปิดเออีซีส่อตกงานอื้อ

< Previous post หมอสุรวิทย์ ชวนชาวสวีเดนมาใช้บริการสุขภาพในไทย ตามนโยบายเมดดิคัลฮับนานาชาติ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด