ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ร่วมตอบแบบสำรวจ เรื่อง มุมมองต่อหัตถการหรือมาตรการ (ต้องสงสัย) ที่อาจมีคุณค่าต่ำ
![](https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2024/11/Blog-Low-value-care_บุคลากรทางการแพทย์_04Dec.jpg)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350375018&grpid=&catid=09&subcatid=0902
“สูบบุหรี่ในรถ” สร้างมลพิษเกินค่ามาตรฐานยูเอ็น “เด็กนั่งเบาะหลัง” เสี่ยงอันตรายสุด
ผลวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารโทแบคโค คอนโทรล ชี้ว่า การสูบบุหรี่ในรถทำให้ระดับของมลภาวะฝุ่นละอองที่เป็นอันตราย เพิ่มสูงขึ้นเกินระดับที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้หลายเท่า ผลการศึกษาโดยนักวิจัยจากสก็อตแลนด์ระบุว่า แพทย์ในอังกฤษวัดระดับความเข้มข้นของมลภาวะฝุ่นละอองในรถโดยติดเครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์ไว้ที่เบาะหลังของรถ โดยใช้การเดินทางจำนวน 85 ครั้ง และให้อาสาสมัคร 17 คน ขับรถคันดังกล่าว โดย 14 คนในนั้นมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ และให้สูบบุหรี่ตามปกติระหว่างการขับรถ จากนั้นจะมีการตรวจวัดระดับควันบุหรี่ในรถเป็นเวลา 3 วัน
ดร.ฌอน แซมเพิล จากมหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน เปิดเผยว่า เด็กๆเป็นกลุ่มที่สามารถรับมลพิษได้ง่ายมาก เนื่องจากพวกเขามีระดับการหายใจที่เร็วกว่าผู้ใหญ่ และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังไม่สามารถหนีหรือหลีกเลี่ยงสถานะความเป็นผู้ที่สูบควันมือสองได้
ผลปรากฏว่า จากการเดินทาง 85 ครั้ง มีการสูบบุหรี่ถึง 49 ครั้ง โดยนักสูบจะสูบบุหรี่เฉลี่ยครั้งละ 4 ตัว โดยระหว่างการขับรถซึ่งมีการสูบบุหรี่ด้วยนั้น ระดับของมลภาวะฝุ่นละอองโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือมากกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกซึ่งอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับมลภาวะในอาคาร และถึงแม้ผู้ขับรถจะเปิดหน้าต่างรถหรือเปิดเครื่องระบายอากาศเพื่อกำจัดควัน ระดับของฝุ่นละอองก็ยังสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ในบางช่วงของการเดินทาง
ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุดของฝุ่นละอองระหว่างการเดินทางที่มีการสูบบุหรี่อยู่ที่ 385 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยที่ค่าสูงสุดนั้นอยู่ที่กว่า 880 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในทางตรงกันข้าม ระดับฝุ่นละอองระหว่างการเดินทางที่ไม่มีการสูบบุหรี่จำนวน 34 เที่ยว มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เท่านั้น ประเภทของฝุ่นละอองที่ตรวจวัดนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร จึงเป็นอันตรายเพราะสามารถเข้าไปในปอดและทำให้เกิดการระคายเคืองได้
นอกจากนี้ ผลวิจัยของศูนย์อากาศภายในอาคารสกอตแลนด์ ของมหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน ชี้ว่า เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองในระดับดังกล่าวมีแนวโน้มเจ็บป่วย ขณะนี้มีประเทศที่ออกกฎหมายต่อต้านการสูบบุหรี่ในรถเพิ่มขึ้น และมาตรการดังกล่าวอาจจะเหมาะสมในการป้องกันความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับควันบุหรี่ที่มีระดับสูง