logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-%E2%80%9C%E0%B9%80%E0%B8%88%E2%80%9D

นักโภชนาการชี้ข้อควรระวังสำหรับกลุ่มคนที่ไม่ควรบริโภค “เจ”

        ช่วงเทศกาลเจเริ่มมา 4 วันแล้วนับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา และต่อเนื่องถึงวันที่ 23 ตุลาคม และบรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคักสังเกตุได้จากสื่อต่างๆ แต่ก็มีข้อสังเกตุจาก อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ อุปนายกสมาคมนักโภชนาการแห่งประเทศไทย ว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี เป็นวัยที่ไม่เหมาะสมต่อการกินเจ เนื่องจากเด็กวัยนี้อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต สมอง และร่างกายต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วน เพราะเด็กๆ ไม่สามารถปรับตัวได้เหมือนกับผู้ใหญ่ หรือถ้าจะให้กิน ต้องไม่เคร่งครัด ควรมีนม และไข่ เสริมเข้าไปด้วยส่วนเด็กอายุ 14 ปี ขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุสามารถกินได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้สูงอายุควรเน้นอาหารเจที่ย่อยง่าย

        กรณีผู้ป่วย หรือผู้ที่กำลังพักฟื้นร่างกาย อาจารย์สง่า ไม่แนะนำให้ทานเจ เนื่องจากร่างกายอยู่ในระหว่างการซ่อมแซม แต่ถ้าอยู่ในความดูแลของนักโภชนาการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนก็สามารถทานได้ เช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ ก็ไม่ควรทานเจเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งคุณแม่ และเด็กในครรภ์ ต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อบำรุงเด็กในครรภ์ให้แข็งแรง

        ส่วนข้อควรระวัง และความปลอดภัยในการกินอาหารเจควรกินอย่างมึความรู้ด้านโภชนาการ ซึ่ง อาจารย์สง่า แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทผัด และทอด ทุกชนิด เพราะใช้น้ำมันเยอะ ส่วนอาหารที่ผ่านการต้มซ้ำๆ เพราะจะทำให้มีรสชาติเค็มเท่านั้น ซึ่งถ้ากินเค็มมากเกินไป จะทำให้ความดันโลหิตสูง ทั้งนี้การกินอาหารเจในเมนูซ้ำๆ จะทำให้ขาดสารอาหารได้ เช่นกินผักมากเกินไปก็จะก็ทำให้ท้องอืดได้ ถ้ากินอาหารที่เป็นอาหารดัดแปลงเพื่อให้คล้ายเนื้อสัตว์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันอาหารประเภทนี้จะผลิตด้วยแป้งมากกว่าจากธัญญพืช ซึ่งควรกินอาหารให้แตกต่างกันในแต่ละมื้อ เช่นมื้อเช้ากินแป้ง มื้อกลางวันกินผัก ส่วนมื้อเย็นกินผลไม้เป็นต้น

        อาจารย์สง่า ยังแนะนำอีกว่า ควรกินอาหารให้หลากหลายชนิด เพื่อสร้างความสมดุล และคุณค่าทางโภชนาการให้กับร่างกาย และควรทานอาหารประเภทต้ม, นึ่ง หรือจะทานน้ำพริกกับผักสดก็ได้ ส่วนอาหารประเภทโปรตีน อาจารย์สง่า แนะนำว่าให้ทานจำพวกถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์ เพราะโปรตีนจากพืชมีกรดอะมิโนใกล้เคียงกับสัตว์ อย่างกรด อะมิโน เมทไทโอนิน (methionine) ไลซีน (lysine) ซึ่งกรดอะมิโนชนิดนี้มีอยู่ในข้าวกล้อง ถ้ากินควบคู่กับอาหารเจทำให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และ ไฟโตรนิวเทรียนส์ ที่มีในผักและผลไม้ ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็ง ที่สำคัญโปรตีนจากพืชไม่มีคลอเลสเตอรอล ที่จะทำให้เกิดไขมันในเส้นเลือด เหมือนกับเนื้อสัตว์ แต่มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

        การกินเจให้รู้เท่าทัน ถึงจะได้บุญ และสุขภาพที่แข็งแรง เพราะการกินเจคือการกินผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ แทนเนื้อสัตว์ ซึ่งการที่เรากินผักเป็นประจำ นักโภชนาการยืนยันว่า มันทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยน้อยกว่าคนที่ไม่กินผัก
 

18 ตุลาคม 2555

Next post > เด็กอังกฤษเป็นโรคกลัวอ้วน พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

< Previous post FDA warns Avon to smooth out claims on skin care products

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด