logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=50645

สธ.รณรงค์ลดกินเค็ม ย้ำปรุงรสเพิ่มเป็นนิสัย เสี่ยงโรคไตกว่ากินรสจืด

         วันที่16 ตุลาคม 2555 ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซ.ศูนย์วิจัย กทม. นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์เกรียง  ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุรศักด์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รณรงค์ลดการบริโภคเกลือในประเทศไทย” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยลดการบริโภคอาหารที่มีรสชาติเค็มให้น้อยลง

         นายแพทย์โสภณกล่าวว่า จากสถิติปี 2554 พบคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 11.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.4 ของผู้ป่วยทั้งหมด โรคไตจำนวน 7.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.5 ของผู้ป่วยทั้งหมดโรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 0.75 ล้านคนหรือร้อยละ 1.4 ของผู้ป่วยทั้งหมดโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 0.5 ล้านคนหรือร้อยละ 1.1 ของผู้ป่วยทั้งหมดนอกจากนี้ยังพบว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตทั้งหมดของประเทศ กว่าร้อยละ 40 เป็นการเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปีซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการ รับประทานอาหารที่มีเกลือ หรือโซเดียมสูงเป็นประจำจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียม มากกว่าปริมาณที่แนะนำถึง 2เท่า คือ 10.8 กรัม ซึ่งใน 1 วันควรบริโภคเกลือเพียงวันละ 5 กรัมหรือ 1 ช้อนชาเท่านั้น

         นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดส่งผลให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรงทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และความดันโลหิตสูงความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามความร่วมมือกับ 8 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือสสส. มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตที่สำคัญ 5 โรคได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และมะเร็งสร้างกระแส “กินรสจืดยืดชีวิต”โดยในปี 2556 จะขยายความร่วมมือเพิ่มอีก 12 หน่วยงาน

         ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมด้านโภชนาการโดยให้โรงครัวและโรงอาหาร ปรุงอาหารโดยไม่ใช้วัตถุดิบที่เป็นอาหารหมักดองเค็มหรืออาหารที่มีรสเค็มจัด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม และขอความร่วมมือให้สมาคมภัตตาคารไทยสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหาร สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทยผลิตและจำหน่ายอาหารเมนูสุขภาพที่ลดการปรุงอาหารด้วยผงชูรสลดปริมาณการใช้เครื่องปรุงรส งดพวงเครื่องปรุงรสสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเพิ่มจำนวนเมนูชูสุขภาพให้มากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการดูแลสุขภาพ โดยจะติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ

         นพ.โสภณกล่าวต่อไปว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดเค็มทำได้ง่าย ๆ คือ ลดหรือเลี่ยงการใช้เกลือน้ำปลา ซอส ซีอิ๊ว หรือเครื่องปรุงรสต่าง ๆ รวมถึงผงชูรสหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทดองเค็ม อาหารแปรรูป น้ำซุปต่าง ๆ เช่นน้ำก๋วยเตี๋ยว ควรรับประทานแต่น้อยหรือเทน้ำซุปออกบางส่วนแล้วเติมน้ำเพื่อเจือจางลง และสังเกตปริมาณเกลือหรือโซเดียมที่ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปก่อนรับประทาน

17 ตุลาคม 2555

Next post > ขยาย ม.41 อืด แพทยสภาเล็งล่ารายชื่อแก้ปัญหา

< Previous post Sitting for long periods 'is bad for your health'

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด