logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการวิจัย “อนาคต อย. อนาคตผู้บริโภคไทย”

ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาโครงการวิจัยการพัฒนาข้อเสนอเกี่ยวกับระบบและโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทยในอนาคต

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 ทีมวิจัย “อนาคต อย. อนาคตผู้บริโภคไทย” จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อทางเลือกของการพัฒนาระบบและโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทยในอนาคต ณ ห้องแซฟไฟล์ โรงแรมริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี

ดร.อินทิรา ยมาภัย นักวิจัย HITAP ได้นำเสนอกรอบการทำงานของ อย. ในอนาคต และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่มีการปรับเปลี่ยนระบบและโครงสร้างของ อย. พร้อมนำเสนอผลการพัฒนาทางเลือกของระบบและโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทยในอนาคต โดยมีทั้งหมด 4 ทางเลือกหลัก ให้ผู้ร่วมประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่1. “อย. ปรับใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง” โดย อย. เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุขเช่นเดิม แต่มีการปรับปรุงการทำงาน และออกระเบียบราชการใหม่ 2. “แยกหน่วยประเมินเป็นองค์กรอิสระ” จัดตั้งองค์กรอิสระ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีพระราชบัญญัติรองรับ เพื่อทำหน้าที่ประเมินคุณภาพและความปลอดภัย 3. “อย. เป็นองค์กรอิสระ” อย. เปลี่ยนรูปแบบองค์กรเป็นองค์กรอิสระสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีพระราชบัญญัติรองรับ และ 4. “จัดตั้ง 3 องค์กรอิสระใหม่” จัดตั้ง 3 หน่วยงานในรูปแบบขององค์กรอิสระ โดยแบ่งเป็น

องค์กรที่ 1 สำนักงานกำกับดูแลสารเคมีและวัตถุอันตรายแห่งชาติ (สวช.) เป็นองค์กรกำกับ ดูแลสารเคมี วัตถุอันตราย และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยทำหน้าที่เพียงประเมินความเสี่ยงของสารเคมีทุกชนิดที่จะผลิตและนำเข้ามาใช้ในประเทศ องค์กรที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (คอช.) ทำหน้าที่กำกับดูแลคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตแบบ FARM to FORK องค์กรที่ 3 สถาบันควบคุมยาและเครื่องมือแพทย์ (สยพ.) ทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแล คุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง และเครื่องมือแพทย์

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่สนับสนุนทางเลือกที่ 4 “จัดตั้ง 3 องค์กรอิสระใหม่” จัดตั้ง 3 หน่วยงานในรูปแบบขององค์กรอิสระ เพื่อขจัดปัญหาการทำงานของ อย. ในปัจจุบันและรองรับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จะเข้าสู่ตลาดอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้ พร้อมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งองค์กรอิสระนั้นเป็นไปได้ยากและการพัฒนาไปสู่องค์กรอิสระต้องใช้เวลานาน เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยได้เสนอมาตรการในระยะสั้นเพื่อการปรับปรุงการทำงานของ อย. ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอให้คณะวิจัยเสนอขอบเขตการทำงานของ อย. ในปัจจุบันที่ควรทำและไม่ควรทำ เพื่อที่ อย. จะได้นำไปเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนบทบาทของ อย. ต่อไป
ท่านสามารถติดตามรายงานการประชุมได้ที่ https://www.hitap.net/research/82343

22 มกราคม 2559

Next post > ประชุมผู้เชี่ยวชาญ การใช้สารชีวภาพรักษาโรคข้ออักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิด systemic

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญ การประเมินความคุ้มค่าของการทำ Autologous Stem Cell Transplantation ในผู้ป่วย multiple myeloma

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด