logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สร้างทางรอดสตรีไทย ห่างไกล’มะเร็งเต้านม’ : โดย…ทีมข่าวสาธารณสุข

 “มะเร็ง” เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1 ใน 3 อันดับแรกของประชากรทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย  องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าอีก 18 ปีข้างหน้าหรือปี 2573 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 17 ล้านคนทั่วโลก ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก องค์การอนามัยโลกจึงเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งป้องกัน ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งให้ได้ 25% ภายในปี 2568

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 ราย และเสียชีวิต 4,665 ราย หรือทุก 2 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากสตรีไทยจำนวนมาก ขาดความรู้ ความเข้าใจในการเกิดและการป้องกันมะเร็งเต้านม ที่สำคัญขาดการดูแลตนเอง เช่น ขาดการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เสียชีวิตเกือบทั้งหมดมาพบแพทย์เมื่อก้อนมะเร็งลุกลาม ถึง 56% เนื่องจากไม่รู้ตัวเพราะไม่เคยตรวจเต้านมมาก่อน จึงมีโอกาสรอดชีวิตต่ำมาก สตรีไทยจำเป็นต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากมะเร็งเต้านม

ขณะ ที่ นพ.สุรวิทย์  คนสมบูรณ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สาเหตุของโรคนี้ไม่แน่ชัด แต่ 25% ของผู้ป่วยพบว่า มีปัจจัยเสี่ยง อาทิ มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย หรือหมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม รับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ดื่มเหล้า อีก 75% ของผู้ป่วยไม่รู้สาเหตุ ประมาณว่าผู้หญิง 1 ใน 10 คน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้า นมได้ และมักพบในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในสตรีอายุ 20-30 ปีก็พบได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการ มีก้อน และแผลที่เต้านม หรือมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วประมาณร้อยละ 56 ทำให้อัตราการเสียชีวิตมีมากขึ้น

“การป้องกันมะเร็งเต้า นมคือ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน แต่ที่ดีที่สุดคือการตรวจพบให้เร็วที่สุดตั้งแต่ระยะเริ่มแรกสามารถรักษาโรค หายได้ ซึ่งทำได้ 3 วิธีคือ 1.การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง 2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี และ 3.การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammography) ซึ่งมีประสิทธิภาพมากที่สุดใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที ปริมาณรังสีที่ได้รับต่ำ ไม่มีอันตราย มีโอกาสรอดชีวิตสูง” นพ.สุรวิทย์กล่าว

สำหรับการตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammography) ในประเทศไทยนั้น ดร.นพ.สมยศ  ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 บาท เพราะไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และในระบบประกันสังคม ทำให้สตรีที่มีรายได้น้อยและอยู่ในพื้นที่ห่างไกลขาดโอกาสเข้าถึงบริการด้วย เครื่องเอกซเรย์เต้านม

ด้วยเหตุนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้ร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี จัดทำ “โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammography) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ” ขึ้น เพื่อจัดหาทุนจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์เต้านมพร้อมรถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้บริการแก่สตรีกลุ่มเสี่ยง และมีรายได้น้อย รวมทั้งสตรีที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมฟรี

โครงการ นี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556-2560 โดยแต่ละหน่วยจะออกให้บริการพร้อมกันทุกวัน วันละ    1 อำเภอ ตั้งเป้าหมายให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสในแต่ละภาคได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ปีละไม่น้อยกว่า 1 หมื่นราย รวม 5 ภาค เป็นจำนวน 5 หมื่นราย และภายในเวลา 5 ปี คาดว่าจะมีผู้ได้รับบริการทั่วประเทศทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 2.5 แสนราย แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 250-300 ล้านบาท

กรมอนามัย สธ. และมูลนิธิกาญจนบารมี จึงได้ระดมทุนจากทุกภาคส่วนด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ และรับบริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิกาญจนบารมี พร้อมจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร รุ่น “เบญจนวมงคล ๕๕๕๕๕๕๕๕๕” ซึ่งมีทั้งหมด 5 รายการ ประชาชนที่สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.0-2591-8185-6, 08-8505-5773, 08-8500-6854 หรือที่ธนาคารกรุงไทย และเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่เว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th/

……………………………
(สร้างทางรอดสตรีไทย ห่างไกล’
มะเร็งเต้านม’ : โดย…ทีมข่าวสาธารณสุข)

 

http://bit.ly/V9JhcF

2 ตุลาคม 2555

Next post > Sanofi says Gaucher pill meets goal in late-stage trial

< Previous post HPV vaccine found safe in large study

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด