logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
กสพท. ร่วมกับ HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษามะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 1B

แฟ้มข้อมูลประกอบ:เอกสารสรุปการประชุมผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555

พญ.กันยรัตย์ กตัญญู คณะแพทย์ศาสตร์วิชรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และคณะ ร่วมกับนักวิจัยจาก HITAP นำเสนอผลวิจัยเบื้องต้นต่อผู้เชี่ยวชาญในโครงการ “การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษามะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 1B” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่าง HITAP กับ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) โดยโครงการนี้มีขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรักษา 2 วิธี คือ 1) การผ่าตัด มดลูก ปากมดลูก ช่องคลอด ออกทั้งหมด รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง [Radical hysterectomy (RH) and lymphadenectomy] และการรักษาเพิ่มเติม กับ 2) การใช้รังสีรักษาและยาเคมีบำบัด (concurrent chemoradiation, CCRT) ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะ 1B (เป็นระยะที่สามารถมองเห็นมะเร็งได้ด้วยตาเปล่า โดยมะเร็งจะยังคงอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น)

 

ผลการศึกษาระบุว่า การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดออกทั้งหมดและให้การรักษาเพิ่มเติมตามข้อบ่งชี้  [Radical hysterectomy (RH) and lymphadenectomy] มีต้นทุนในการรักษาสูงกว่าการรักษาด้วยรังสีและยาเคมีบำบัด แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตโดยร่วมดีกว่า ดังนั้นหากวัดความเต็มใจจ่ายของสังคมที่ 120,000 บาทต่อปีสุขภาวะ* พบว่าการรักษาด้วยวิธี RH มีความคุ้มค่า

จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญ เห็นตรงกันว่าผลวิจัยต้นทุนและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ข้อสรุปตามที่คาดไว้ แต่มีข้อเสนอให้คณะวิจัยไปตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะ B1 เพิ่มเติม

 

*ปีสุขภาวะ หรือ Quality Adjusted Life Year (QALY) คือ หน่วยวัดคุณภาพชีวิต โดยคิดเป็นปีที่ผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรงที่สุด

1 ตุลาคม 2555

Next post > ดส.-สธ.จับพยาบาลฉีดโบท็อกซ์ ย่านห้วยขวาง ไม่ได้รับอนุญาต

< Previous post นักวิจัย HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาข้อเสนอแนะต่อผลวิจัยเบื้องต้นการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด