logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
นักวิจัย HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาข้อเสนอแนะต่อผลวิจัยเบื้องต้นการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555 พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัยหลักในโครงการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม นำเสนอผลการวิจัยเบื้องต้นต่อผู้เชี่ยวชาญ

 

การศึกษานี้มีขึ้นเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมในบริบทประเทศไทย เทียบกับไม่มีการตรวจคัดกรอง

 

ผลการศึกษาพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเมมโมแกรม 1 ครั้งในชีวิต ของผู้หญิงทั้งที่อายุ 40-49 ปี และ 50-59 ปี ไม่มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับไม่มีการคัดกรอง เพราะฉะนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมในผู้หญิงทั่วไปอาจะไม่คุ้มค่าเนื่องจากต้องทำการคัดกรองผู้หญิงทั้งหมดหลายพันคน กว่าจะเจอผู้ป่วยมะเร็งเต้านม early stage เพียงคนเดียว อีกทั้งประเทศไทยเองมีข้อจำกัดเรื่องเครื่องมือและจำนวนผู้เชี่ยวชาญ (แพทย์และเจ้าหน้าที่เทคนิค) ที่ไม่สามารถให้บริการครอบคลุมการตรวจคัดกรองในระดับประชากรได้

 

ผลวิจัยเสนอให้หาแนวทางในการระบุกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จากนั้นจึงคัดกรองด้วยแมมโมเกรมเฉพาะกลุ่ม ซึ่งขณะนี้ HITAP กำลังดำเนินการวิจัยเพื่อสร้าง Clinical prediction score ของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทย เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เชิงนโยบายเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมสำหรับผู้หญิงไทย

1 ตุลาคม 2555

Next post > กสพท. ร่วมกับ HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษามะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 1B

< Previous post กสพท. ร่วมกับ HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เปรียบเทียบกับการผ่าตัดตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกในประเทศไทย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด