logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
กสพท. ร่วมกับ HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เปรียบเทียบกับการผ่าตัดตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกในประเทศไทย

เมื่อวันที่18 กันยายน 2555 คณะวิจัยโครงการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เปรียบเทียบกับการผ่าตัดตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกในประเทศไทย นำโดย พญ.ดลฤดี สองทิศ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) นำเสนอผลวิจัยต่อผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมเต้านม โรคมะเร็งเต้านมจากหลายสถาบัน เพื่อขอข้อเสนอแนะต่อผลวิจัยเบื้องต้น

 

ผลการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรก การผ่าตัดตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลมีความคุ้มค่ามากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่า และทำให้ผู้ป่วยมีปีสุขภาวะที่มากกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยยังมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถผ่าตัดตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลได้ สามารถทำได้ เฉพาะในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลตติยภูมิเท่านั้น

 

ผู้เชี่ยวชาญจึงเสนอเชิงนโยบายให้เพิ่มจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพยาธิวิทยา (Pathologist) เจ้าหน้าที่เทคนิค รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อขยายความครอบคลุมการเข้าถึงการรักษาดังกล่าว

1 ตุลาคม 2555

Next post > นักวิจัย HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาข้อเสนอแนะต่อผลวิจัยเบื้องต้นการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม

< Previous post Whooping cough outbreak: Pregnant women to be vaccinated

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด