logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการอย. แถลงข่าวการแก้ปัญหายาปลอมในกลุ่มยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศว่า หลังจากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ขอขึ้นทะเบียนผลิตยาสามัญของยาซิเดนาฟิล หรือยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า ซิเดกร้า ซึ่งยาดังกล่าวมีลักษณะเป็นยาเม็ดเคลือบสีฟ้า รูปข้าวหลามตัด บรรจุแผงละ 4 เม็ด แบ่งเป็น 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 50 ม.ก. จำหน่ายราคาเม็ดละ 25 บาท หรือแผงละ 100 บาท และขนาด 100 ม.ก. ราคาเม็ดละ 45 บาท หรือแผงละ 180 บาท 

ยาที่อภ.ผลิตจะมีราคาถูกกว่ายาต้นแบบจากต่าง ประเทศถึงกว่า 10 เท่า โดยจะวางจำหน่ายในเดือนต.ค.นี้ ทั้งนี้ สำหรับราคายาที่ใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่รู้จักกันดีคือ ไวอากร้า 1 แผง จะมี 4 เม็ด จะจำหน่ายในราคาแผงละประมาณ 2,100 บาท สำหรับขนาด 100 ม.ก. และราคา 1,600 บาท สำหรับขนาด 50 ม.ก. นพ.พิพัฒน์กล่าว
 
 นพ.พิพัฒน์กล่าวต่อว่า การที่อภ.ผลิตยาดังกล่าวได้เองนั้น ส่งผลให้บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตยา ไวอากร้า ทำหนังสือแจ้งมายังอย.ว่า มีความประสงค์ในการลดราคาขายปลีกยาไวอากร้าลงร้อยละ 30 สำหรับยาแผงขนาด 100 ม.ก. และลดราคาลงร้อยละ 20 สำหรับแผงขนาด 50 ม.ก. ซึ่งในการลดราคายา ไวอากร้า รวมถึงการที่อภ.ผลิตยา ซิเดกร้า ถือเป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหายาปลอม และเพิ่มการเข้าถึงยาของประชาชน เพราะยาที่ปลอมมากที่สุดคือยากลุ่มรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เชื่อว่าเมื่อผลิตยากลุ่มนี้วางจำหน่ายในราคาถูกปัญหาเรื่องยาปลอมจะหมดไป ภายใน 5 ปี
 
 นพ.พิพัฒน์กล่าวอีกว่า ยืนยันว่ายา ซิเดกร้า มีสรรพคุณเทียบเท่า ไวอากร้า และจะมีจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบัน โดยผู้ซื้อต้องมีใบสั่งแพทย์ ขณะเดียวกันอย.ได้ออกมาตรการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการใช้ยาดังกล่าว อย่างไม่สมเหตุสมผล ประกอบด้วย 1.ผู้ประกอบการร้านขายยาต้องรับผิดชอบในการควบคุมการกระจายของยาอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ให้ออกไปในช่องทางที่ไม่เหมาะสม 2.ผู้ประกอบการร้านขายยา ต้องรายงานการขายยาให้อย.ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลกำกับดูแลการกระจายยา 3.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ให้เกิดความเข้าใจ 4.ฟื้นฟูความรู้ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา ให้ช่วยดูแลความปลอดภัยการใช้ยา และเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รวมทั้งไม่จ่ายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ และ 5.ผู้ประกอบการร้านขายยาจะร่วมสนับสนุนให้มีใบสั่งยาจากแพทย์มารับยาในร้าน ขายยาอย่างเคร่งครัด โดยจะประเมินผลทุก 6 เดือน
 
 ด้านนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.อภ. กล่าวว่า การวางจำหน่ายยาซิเดกร้า จะเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้เป็นต้นไป การที่อภ.ผลิตยากลุ่มนี้ได้เองมีประโยชน์มากเพราะประเทศไทยใช้ยากลุ่มนี้สูงมากถึงปีละมากกว่า 1 ล้านเม็ด
 
 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348666346&grpid=03&catid=03
27 กันยายน 2555

Next post > กรมควบคุมโรคระดมผู้เชี่ยวชาญนัดถก 'โคโรน่าไวรัส'

< Previous post สช.เผย สุขภาพคนไทยแย่ จากมลพิษที่เลวร้าย เตรียมจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด