logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย.เตือนอย่าหลงเชื่อการฉีดสารเพื่อเสริมความงาม เพราะหากได้รับการฉีดสารชนิดที่มีการปลอมปน อาจเกิดการแพ้ที่รุนแรง อันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนกรณีการติดตาม หมอป๊อป ผู้ที่อ้างตัวเป็นแพทย์ รับฉีดสารที่อ้างว่าเป็นคอลลาเจนที่สะโพกให้กับหญิงสาว จนเกิดอาการช็อกหมดสติ ขณะนี้มีรายงานว่าตำรวจได้ควบคุมตัวหมอป๊อปไว้แล้ว

ภาพจากกล้องวงจรปิดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ยูทูป โดยมีการระบุว่าชายในภาพ คือหมอป๊อป ชายที่อ้างตัวเป็นแพทย์รับฉีดสารที่อ้างว่าเป็นคอลลาเจน ให้กับ น.ส.อาทิตยา เอี่ยมใหญ่ พิธีกรและผู้แนะนำสินค้า โดยมีการอ้างว่าเป็นการฉีดสารฟิลเลอร์คอลลาเจนเสริมสะโพก ซึ่งหลังการฉีดสารดังกล่าวเพียง 5-10 นาที น.ส.อาทิตยาก็เกิดอาการช็อกหมดสติ และขณะนี้ยังคงมีอาการสาหัส

มีรายงานว่า 10.00 น. ของวันนี้ (21 ก.ย.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล จะแถลงข่าวการจับกุม หมอป๊อป โดยเบื้องต้น มีรายงานว่า เมื่อวานนี้(20 ก.ย.) เจ้าหน้าที่นำกำลังไปควบคุมตัวหมอป๊อป และตรวจค้นพยานหลักฐานในจุดที่ฉีดสาร จากนั้นได้นำตัวมาสอบสวนที่กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี ก่อนจะมีการแถลงข่าวในวันนี้

ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. กล่าวว่า อย. ได้เคยออกข่าวเตือนมาแล้วหลายครั้ง ให้ระวังอันตรายจากการฉีดสารต่างๆ ทั้งคอลลาเจน ฟิลเลอร์ โบท็อกซ์ และสารกลูตาไธโอน เนื่องจากเป็นการนำสารมาใช้อย่างไม่เหมาะสม

รวมทั้งก่อนหน้านี้มีการตรวจสอบจับกุมผู้ลักลอบฉีดสารดังกล่าวโดยไม่ถูก ต้องตามกฎหมายอยู่เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง กรณีหญิงสาวตามที่เป็นข่าวจะต้องตรวจสอบก่อนว่าได้รับการฉีดคอลลาเจนจริง หรือไม่ หรือมีการใช้สารแปลกปลอมอื่นใด ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าหญิงสาวรายนี้มีอาการแพ้อย่างรุนแรง ช็อก และหมดสติในที่สุด

สำหรับคอลลาเจน อย.ยืนยันว่าไม่เคยมีการรับขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่อย่างใด เป็นสารที่ยังไม่ได้รับการรับรองความปลอดภัยเพื่อใช้สำหรับฉีด ซึ่งส่วนใหญ่พบเป็นการลักลอบนำเข้ามาใช้ และนำมาโฆษณาขาย และฉีดในราคาถูก

นพ.พิพัฒน์ เตือนว่า หากผู้บริโภครายใดมีความประสงค์จะฉีดสารใดๆ เพื่อเสริมความงาม ควรเข้ารับบริการฉีดกับสถานพยาบาลที่มีใบอนุญาตประกอบสถานพยาบาลตามกฎหมาย หากเกิดอันตรายจากการแพ้ ทางสถานพยาบาลก็จะรับผิดชอบ และมีเครื่องมือทางการแพทย์ พร้อมทั้งยาที่จะช่วยเหลือคนไข้ได้ทันท่วงที

นอกจากนี้ ควรได้รับการฉีดจากแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้างผิว หนัง กายวิภาค เซลล์วิทยา เนื่องจากจะไม่ฉีดให้กระทบเส้นเลือดหรือเส้นประสาท และสามารถรู้ได้ว่า ผู้มารับบริการควรได้รับยาฉีดปริมาณเท่าใด หากฉีดกับผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ หรือไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง อาจเสี่ยงต่อการฉีดผิดวิธีไม่ถูกทาง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ด้านนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ได้สั่งการให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประสานงานกับพนักงานสอบสวนติดตามผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยหากผู้ทำการฉีดสารคอลลาเจนไม่ได้เป็นแพทย์มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจะมี ความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 และหากเปิดประกอบกิจการสถานพยาบาลให้การรักษาพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

 

http://bit.ly/R3XQev

21 กันยายน 2555

Next post > คณบดีแพทย์อาเซียน กับการเดินเข้าสู่เออีซี

< Previous post คร.จัดแสดงภาพป้องกันไข้เลือดออกอาเซียน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด