logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เผย คนไทยป่วยทางจิต เข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้วกว่า 3 ล้านราย ชี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า เหตุเปลี่ยนจากสังคมชนบทเป็นเขตเมือง แย้ม ปี 2557 เตรียมสร้าง รพ.จิตเวช เพิ่มที่เมืองสองแควอีก 1 แห่ง
       
       วันนี้ (19 ก.ย.) ที่ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จ.พิษณุโลก นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังรับมอบที่ดินบริจาคจาก นายบุญ ชาติพาณิชย์ จำนวน 47 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า จากการสำรวจ ปัญหาด้านสุขภาพจิตล่าสุดของกรมสุขภาพจิต พบประชากรไทยร้อยละ 20 หรือประมาณ 1 ใน 5 มีปัญหาสุขภาพจิต และมีผู้ป่วยโรคทางจิตเวช 10 โรค เช่น โรคจิต โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคลมชัก ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศในปี 2554 รวมกว่า 3 ล้านราย ประมาณ 1 ใน 3 รักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช 17 แห่งทั่วประเทศ 1 ล้าน 9 หมื่นกว่าราย ซึ่งจำนวนป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคทางจิตนี้มีความเกี่ยวข้องกับสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม สารเสพติด บางโรคจะปรากฏอาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ และรักษาไม่หาย เข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล

นพ.สุรวิทย์ กล่าวอีกว่า คาดการณ์ว่า ในปี 2570 นี้ สังคมไทยจะเปลี่ยนเป็นสภาพสังคมเมืองมากขึ้น พื้นที่ที่เป็นเขตปริมณฑลจะเป็นเขตเมืองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น เพราะสภาพความเป็นเมืองจะทำให้สังคมเปราะบางขึ้น เป็นสังคมต่างคนต่างอยู่ โดยภาคตะวันออกจะเป็นเขตเมืองมากกว่าภาคอื่นๆ ครอบครัวจะลดขนาดจากครอบครัวขยายมีพ่อแม่ลูก ตายาย เหลือเป็นครอบครัวเดี่ยว มีพ่อแม่ลูก และหัวหน้าครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง โรคที่องค์การอนามัยโลกกำลังวิตกและมีแนวโน้มสูงขึ้นทั่วโลกก็คือโรคซึม เศร้าจะมีความรุนแรง ขยับจากอันดับที่ 4 ในปี 2533 ขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจและโรคดังกล่าวนี้หากไม่เร่งป้องกันแก้ไข จะเป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย
       
       นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบริการและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในทุก พื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่างที่ยังไม่มีโรงพยาบาลจิตเวช ประชาชนในพื้นที่ที่ป่วยต้องเดินทางไปใช้บริการที่โรงพยาบาลจิตเวชจังหวัด เชียงใหม่ นครสวรรค์ ขอนแก่น ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายจะจัดสร้างโรงพยาบาลจิตเวชเพิ่ม 1 แห่งที่จังหวัดพิษณุโลก มีขนาด 200 เตียง ขณะนี้ได้พื้นที่ก่อสร้างแล้ว ต้องขอขอบคุณประชาชนที่ร่วมสนับสนุน โดยจะจัดตั้งงบประมาณในปี 2556 ประมาณ 360 ล้านบาท คาดว่า จะลงมือก่อสร้างได้ในปี 2557 และทยอยเปิดบริการได้ภายใน 2-3 ปีนี้ โดยจะดูแลประชาชนในจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์
       
       “ทั้งนี้ ในแผนพัฒนาบริการด้านสุขภาพจิตแก่ประชาชน พ.ศ.2556-2559 กระทรวงสาธารณสุข จะขยายบริการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ประชาชนทุกกลุ่ม เช่น เด็ก สตรี วัยรุ่น ผู้สูงอายุ ถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตั้งเป้าพัฒนา เมื่อสิ้นปี 2559 ประชาชนไทยทุกวัยร้อยละ 70 จะมีสุขภาพจิตดีเด็กไทยร้อยละ 70 มีระดับความฉลาดทางสมองและความฉลาดทางอารมณ์ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล และอัตราฆ่าตัวตายไม่เกินแสนละ 6.5 คน ผู้ป่วยโรคจิตต้องเข้าถึงการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80” รมช.สาธารณสุข กล่าว

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000115533

20 กันยายน 2555

Next post > ไทยป่วย‘โรคประสาทหลอน’เพิ่ม แพทย์แนะวิปัสสนากรรมฐานช่วยได้

< Previous post นักวิชาการเสนอ 3 ชุดทางเลือก"สวัสดิการ" สำหรับผู้สูงอายุ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด