logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมควบคุมโรค เซ็น MOU งานบริการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร่วมกับ สสจ. 36 จังหวัด หวังแก้ปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บรรลุเป้าหมายที่เป็นศูนย์ แนะปชช.ต้องป้องกันตนเอง
       
       วันนี้ (19 ก.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วม มือ(MOU) ทางวิชาการและการดำเนินงานบริการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ระหว่างสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 36 จังหวัด และความร่วมมือกับกองโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ว่า ปัจจุบัน สถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย คาดว่ามียอดสะสมรวมกว่า 1,100,000 ราย และยังคงมีชีวิตอยู่ประมาณ 480,000 ราย ร้อยละ 84 ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น การดูแลรักษา ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงถือเป็นแนวทางหลักที่สำคัญ ในการป้องกันควบคุมการติดเชื้อเอชไอวีที่ขาดไม่ได้ ซึ่งพบว่าเป็นมาตรการที่มีความคุ้มทุนสูง(cost effectiveness strategy) เห็นผลชัดเจน สามารถดำเนินการได้ง่ายและได้รับการผลักดันให้เป็นนโยบายที่สำคัญของการ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในหลายประเทศ เช่น โครงการแผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์(PEPFAR) ก็สนับสนุนงานการดูแลรักษา ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการป้องกันเอชไอวีใน ทุกโครงการที่ดำเนินงานทั่วโลก เป็นต้น นอกจากนั้นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงของการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็ เป็นกลุ่มประชากรเป้าหมายเดียวกันกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอ ชไอวี ได้แก่ พนักงานบริการ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด ผู้ต้องขัง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
       
       นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า คร.ได้ดำเนินงานป้องกัน แก้ไขปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายที่เป็นศูนย์(Getting to Zero) ซึ่งการดำเนินงานด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ปรับรูปแบบการดำเนินงานจาก งานกามโรคในอดีต จนสามารถขยายการดำเนินงานในรูปแบบของการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและเครือข่ายทุกภาคส่วน รวมถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 36 จังหวัดและความร่วมมือกับกองโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งวัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลง มีดังนี้ 1.เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็งของระบบงานบริการด้าน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมทั้งบริการปรึกษาเพื่อการตรวจเลือดเอชไอวีใน พื้นที่ 2.เพื่อสนับสนุนวิชาการในการพัฒนาคุณภาพระบบงานด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สอดคล้องกับระบบพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานในพื้นที่
       
       นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สสจ. 36 จังหวัด ที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี สระบุรี สระแก้ว ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี สมุทรสาคร นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม อุบลราชธานี มุกดาหาร กำแพงเพชร พิษณุโลก ตาก พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ตรัง ระนอง และสงขลา ซึ่งคัดเลือกมาจากจังหวัดที่อยู่ภายใต้แผนการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเอดส์ในพื้นที่เร่งรัดตามแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่ง ชาติ และแผนการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยหลังจากลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวแล้ว จังหวัดเหล่านี้จะเริ่มดำเนินการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาทิ พนักงานบริการ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด ผู้ต้องขัง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น เข้ารับบริการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหน่วยบริการสาธารณสุขที่ กำหนดให้มีบริการตรวจคัดกรองค้นหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่คิดค่าบริการ ภายใต้มาตรฐานการดำเนินงานของกรมควบคุมโรค และจะมีการขยายการดำเนินงานดังกล่าวให้คลอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศภายในปี 2559 ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่สามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายที่เป็น ศูนย์(Getting to Zero) ในการไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
       
       “ในโอกาสนี้ ขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนหันมาป้องกันตนเอง รับผิดชอบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เมื่อมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และขอเชิญชวนให้เข้ารับบริการปรึกษาเรื่องสุขภาพทางเพศ การคัดกรอง/ค้นหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อมีความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และโปรดวางใจให้สถานพยาบาลและเครือข่ายบริการที่เป็นมิตรของเราได้ดูแลทุกคน ที่สำคัญในปัจจุบันคนไทยทุกคนสามารถเจาะเลือดตรวจการติดเชื้อเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง หากมีข้อสงสัยสามารถโทรได้ที่สายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663 หรือที่ศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000115334&utm_source=twitterfeed&utm_medium=twitter

19 กันยายน 2555

Next post > Snake venom may be 'drug source'

< Previous post เล็งบรรจุวัคซีน“ไวรัสโรต้า”เข้าแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติปี '58

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด