logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข น้อมรับกระแสรับสั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงห่วงใยประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมให้ดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมย้ำเตือนประชาชนระวังป่วยเป็นไข้หวัด ขณะนี้พบผู้ประสบภัยป่วยเป็นไข้หวัดมากที่สุด แนะวิธีป้องกันให้ล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ ส่วนคนป่วยคาดหน้ากากอนามัยป้องกันแพร่กระจายเชื้อ กำชับสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมป้องกันน้ำท่วมสถานบริการ และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย  ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 9-16 กันยายน 2555 พบผู้ป่วยสะสม   18,132 ราย
          บ่ายวันนี้ (17 กันยายน 2555) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายวิทยา  บุ รณศิริ รัฐมตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 33จังหวัดที่มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม และเสี่ยงได้รับผลกระทบ เช่น เชียงราย  ลำปาง  สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี  ลพบุรี  ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ปราจีนบุรี  เพื่อติดตามความพร้อมของพื้นที่ในการป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาล และการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 

       นายวิทยากล่าวว่า ในวันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยประชาชนที่ ประสบภัยน้ำท่วม ทรงรับสั่งให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ กระทรวงฯ จะน้อมใส่เกล้าจัดบริการแก่ผู้ประสบภัยอย่างดีที่สุด และนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งลดผลกระทบผู้ประสบภัยทั้งสุขภาพกายและจิต เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยซ้ำเติม

จากการประเมินสถานการณ์ การเจ็บป่วยของประชาชนในขณะนี้ พบว่าป่วยเป็นไข้หวัดสูงเป็นอันดับ 1 พบประมาณร้อยละ 60 ของผู้มารับบริการที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ได้กำชับหน่วยบริการให้ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้ว และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่น้ำท่วมเร่งให้คำแนะนำประชาชนในการ ป้องกันไม่ให้ป่วย โดยล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ ใส่เสื้อผ้าที่แห้งให้ร่างกายอบอุ่น ให้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อ ผ้าทันทีหลังเปียกฝน พักผ่อน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามกินผัก ผลไม้สดที่มีรสเปรี้ยว เพื่อให้ได้วิตามินซีเสริมภูมิคุ้มกันโรค หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย ส่วนผู้ที่ป่วยแล้วให้ดื่มน้ำอุ่น นอนพักผ่อนมากๆ ไม่คลุกคลีกับคนอื่น และคาดหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หากมีไข้ 3 วันแล้วไข้ไม่ลดลง และน้ำมูกเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวข้น ไอ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ อาจเป็นปอดบวมได้ ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือรพ.สต.ใกล้บ้านหรือแจ้งอ สม.ในหมู่บ้าน เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=49846

          นายวิทยากล่าวต่อว่า ในการประชุมวอร์รูมวันนี้ ได้มอบหมายหมายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต  เป็นประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพอันเนื่องมาจากอุทกภัย  หรือ วอร์รูมใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นศูนย์สั่งการ ประสานงานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กับวอร์รูมของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไขผลกระทบด้านสุขภาพได้อย่างทันท่วงที จากการประเมินน้ำท่วมที่ผ่านมา ยังไม่มีโรงพยาบาลใหญ่ได้รับผลกระทบ มีเฉพาะรพ.สต. 10 แห่ง อยู่ในจ.พระนครศรีอยุธยา 9 แห่ง และจ.ลำปาง ปิดให้บริการ 1 แห่ง ที่รพ.สต.นาแส่ง ระดับน้ำสูง 50 ซม. โดยได้กำชับให้นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดประเมินสถานการณ์ และเตรียมป้องกันโรงพยาบาลที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม และการให้บริการประชาชน ทั้งที่อยู่ตามบ้านเรือนหรือจุดพักพิงให้ครอบคลุมทุกด้าน บริการไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตั้งแต่วันที่ 9 – 16 กันยายน 2555 พบผู้ป่วยสะสม 18,132 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่ ไข้หวัด รองลงมาคือปวดเมื่อย ผื่นคัน และน้ำกัดเท้า        

 

 

ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ในฐานะประธานวอร์รูมสธ. กล่าวว่า ในบ่ายวันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีข้อสั่งการไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ เสี่ยง ให้ดำเนินการ6 มาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพจากอุทกภัย โดย1.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่อุทกภัยตั้งวอร์รูม ป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพ และให้ทุกกรมที่เกี่ยวข้องส่งทีมสนับสนุน โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้สั่งการ 2.ให้ติดตามสถานการณ์ของ ปภ. และกบอ. ด้านอุทกภัย และเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น และเตรียมระบบเฝ้าระวังโรคฉุกเฉินใน 7 โรคจากน้ำท่วม หากระบบเฝ้าระวังปกติไม่สามารถดำเนินการได้

 

3.ให้ดำเนินการเมื่อ เผชิญเหตุอุทกภัย 5 ด้าน ได้แก่ 1.) ทีมเคลื่อนที่เร็วให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์ตามความเหมาะสม 2.) ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว 3.) ทีมฟื้นฟูเยียวยาด้านสุขภาพจิต 4.) ระบบบริการเฉพาะสำหรับผู้ต้องการการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ที่ต้องรับยาทางจิตเวชต่อเนื่อง 5.) ทรัพยากรสนับสนุน เช่น ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ยานพาหนะ และเครือข่ายการสื่อสาร 4.ประเมินและสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น 5.เตรียมแผนสำหรับสถานบริการเสี่ยงน้ำท่วม ทั้งการป้องกันน้ำท่วม การสำรองยาและเวชภัณฑ์ จัดทำแผนเผชิญเหตุ ปรับระบบบริการเมื่อเกิดน้ำท่วม การรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการประชาชน การดูแลผู้ประสบภัยที่ติดตามบ้านเป็นต้น และ6.ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดูแลป้องกันบ้านพักตนเองและบุคคลในครอบครัว

18 กันยายน 2555

Next post > อย. ลดราคายาผู้ป่วยมะเร็ง-สมาธิสั้น

< Previous post สธ.มอบโล่‘อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง’

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด