logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

วันนี้ ( 17 ก.ย.)  ศ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา หนึ่งในกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมอนุกรรมการการมีส่วนร่วมและการคุ้มครองสิทธิ สปสช. เมื่อเร็ว ๆนี้ ได้เชิญผู้แทนกรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม (สปส.)มาให้ความเห็นว่าหากมีการแก้ไขมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545  จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขให้กับผู้ป่วยทั้ง 2 กองทุนด้วยนั้นจะได้หรือไม่ ทางตัวแทนทั้ง 2 หน่วยงานระบุว่าขณะนี้ 2 กองทุนไม่มีกฎหมายที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือแต่อย่างใด ถ้าหากมีการแก้ไขมาตรา 41 แล้วต้องไปแก้ไขกฎหมายของ 2 กองทุนด้วยก็เป็นเรื่องยุ่งยาก

นายกแพทยสภา กล่าวต่อว่า ได้ถามตัวแทนทั้ง 2 หน่วยงานว่าถ้า สปสช.จะเป็นเจ้าภาพด้วยการของบประมาณจากทางรัฐบาลเพิ่ม 1,000-2,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเจ้าภาพในการดูแลกรณีเกิดความเสียหายจากการรับบริการทั้ง 3 กองทุน  และแยกกองทุนนี้ออกมาต่างหากไม่รวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัว อีกทั้ง สปสช.มีบุคลากรดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้วทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด  สามารถดำเนินการได้เลย ทั้ง 2 กองทุนเป็นผู้รับอย่างเดียว ไม่ต้องจ่ายอะไรจะมีปัญหาหรือไม่ ได้รับคำตอบว่า ไม่มีปัญหา ถ้าไม่ต้องไปแก้้ไขกฎหมาย 2 กองทุน

“คงมีการพูดเรื่องนี่ในบอร์ด สปสช.  หากบอร์ด สปสช.ไม่เห็นด้วยคงต้องนำเสนอผ่านช่องทางอื่น เช่น เสนอคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข  ส.ส.20 คน  หรือประชาชนเข้าชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายต่อไป ” ศ.นพ.อำนาจ กล่าวและว่า ไม่ได้คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเพราะเป็นคนละเรื่องกัน

ด้าน นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง ประธานคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมและการคุ้มครองสิทธิ  สปสช.กล่าวว่า ปัจจุบันได้มีการขยายมาตรา 41 จาก 2 แสนบาทเป็น 4 แสนบาทเริ่ม 1 ต.ค. นี้แต่คณะอนุกรรมการก็มาพิจารณาว่านอกจากการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว อีก 2 ระบบ คือ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการควรเยียวยาด้วยหรือไม่ ที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการว่า  ระบบสุขภาพอื่นก็ควรได้รับการเยียวยาเช่นกัน แต่วิธีปฏิบัติยังคงต้องหารือกันอีกนานเพราะไม่ใช่ว่าจะดำเนินการได้ทันที อีกทั้งต้องดูท่าทีรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ตามจะสรุปความเห็นเสนอต่อประธานบอร์ด สปสช.เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป.

 

http://www.dailynews.co.th/politics/155591

17 กันยายน 2555

Next post > สธ.เตือนปชช. ระวังกินเห็ดมีพิษ หลังพบมีผู้เสียชีวิตจากเห็ดป่าแล้ว 12 คน

< Previous post สธ.พบผู้ป่วยพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมมากกว่า 1 หมื่นราย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด