“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00-12.30 น. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPPจัดการประชุมคณะทำงานคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 2/2558 ณ ห้องประชุมสานใจ 2 ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีคณะทำงานฯ เข้าร่วมประชุม ฯ ประกอบด้วย 1. ตัวแทนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ 2. ตัวแทนกลุ่มนักวิชาการ 3. ตัวแทนกลุ่มประชาสังคม 4. ตัวแทนกลุ่มผู้ป่วย
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อนำเข้าสู่การประเมิน ก่อนจะนำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ในลำดับถัดไป ซึ่งหัวข้อปัญหาฯ ทีนำมาทำการคัดเลือกครั้งนี้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอมาทั้งสิ้น 10 หัวข้อ โดยแบ่งเป็นประเภทรักษาและฟื้นฟูสภาพ 7 หัวข้อ และ ประเภทส่งเสริมป้องกันโรค 3 หัวข้อ
การคัดเลือกหัวข้อปัญหาฯ ครั้งนี้จะใช้ผลการทบทวนวรรณกรรมตามเกณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของการนำมาใช้พิจารณาโดยเกณฑ์ในการทบทวนฯประกอบไปด้วย 1.จำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากโรคหรือปัญหาสุขภาพ 2.ความรุนแรงของโรคหรือปัญหาสุขภาพ 3.ประสิทธิผลของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ 4.ความแตกต่างในทางปฏิบัติ 5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจของครัวเรือน 6. ความเป็นธรรมและประเด็นทางสังคมและจริยธรรม คณะทำงานฯได้มีมติให้หัวข้อที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การประเมินมีทั้งสิ้น 5 หัวข้อ ประกอบด้วย 1. การใช้สารชีวภาพ (tocilizumab) ในการรักษาโรคข้ออักเสบเรื้อรังในเด็กชนิด systemic (systemic juvenile idiopathic arthritis; SJIA) 2.การรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่หรือระยะแพร่กระจาย (locoregional recurrent or distant metastasis) ในสตรีที่มี ภาวะหมดประจำเดือน (post-menopause) และมีผลการตรวจ hormone receptor เป็นบวก ด้วยยาต้านฮอร์โมน โดยใช้ยา exemestane 3. การรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนที่เป็นเบาหวาน Type 2 ร่วมด้วย ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง 4.การสนับสนุนสายปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง5. การป้องกันทันตกรรมด้วยเครื่องแปรงฟันไฟฟ้าที่ใช้ถ่านในคนพิการทางสติปัญญา อัมพาตทางร่างกาย มีปัญหาในการเคลื่อนไหว และผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ภายหลังจากนี้ทางทีมเลขาจะนำข้อสรุปที่ได้จากการประชุมครั้งนี้เสนอให้คณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการ สปสช.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่นักวิจัยจะนำหัวข้อที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการศึกษาวิจัยต่อไป
ท่านสามารถติดตามรายงานการประชุมและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ucbp.net