logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

วิจัยพบ “ใบสาบเสือแห้ง” ห้ามเลือดหยุดเร็วกว่าผ้าก๊อซ ถึง 5 นาที แถมมีลิ่มเลือดไม่ทำให้เลือดไหลอีก เผยเห็นชาวบ้านในพื้นที่ใช้ใบสดห้ามเลือดก่อนมาโรงพยาบาล

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 55  ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำ ปี 2555 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน  นางอรทัย ไพรบึง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ นำเสนอผลการวิจัย สาขาการแพทย์ เรื่อง “การศึกษาประสิทธิผลการห้ามเลือดโดยใช้ใบสาบเสือแบบแห้งและก๊อซ”

นางอรทัย กล่าวว่า จากการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีบาดแผลฉีกขาดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยมีความ ยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร ลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร โดยเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งขนาดของแผลเป็น 3 ขนาด คือ ยาว 1.5-3 เซนติเมตร (ซม.) ลึก 0.2-0.4 ซม. , ยาว 4-6 ซม. ลึก 0.5-0.7 ซม. และ ยาว 7-10 ซม. ลึก 0.8-1 ซม. เข้ารับบริการ รพ.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ ระยะเวลาเก็บกลุ่มตัวอย่าง มกราคม – 30 มิถุนายน 2554 จำนวน 30 คน แบ่งเป็น กลุ่มห้ามเลือดโดยใช้ใบสาบเสือแบบแห้ง จำนวน 15 ราย และกลุ่มห้ามเลือดโดยใช้ก๊อซ จำนวน 15 ราย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณานาและเปรียบเทียบผลของการห้าม เลือดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ

          นางอรทัย กล่าวอีกว่า ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 15 ราย อายุเฉลี่ย 37 ปี ขนาดแผลส่วนใหญ่ยาว 4-6 เซนติเมตร  ลึก 0.5-0.7 เซนติเมตร ตำแหน่งบาดแผลส่วนใหญ่เกิดบริเวณขาผู้ป่วย ที่ใช้ใบสาบเสือแบบแห้งห้ามเลือด มีระยะเวลาเฉลี่ยที่ทำให้เลือดหยุดเท่ากับ 12.6 นาที เร็วกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 15 ราย ที่ใช้ก๊อซ ใช้เวลาเฉลี่ย 17.6 นาที นอกจากนี้ การใช้ใบสาบเสือแห้งทำให้เกิดลิ่มเลือด เลือดด้านในไม่ไหลออกมาเพิ่ม ขณะที่การใช้ก๊อซไม่เกิดลิ่มเลือด ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่เลือดหยุดของกลุ่มทดลองที่ใช้ใบสาบเสือ แห้งใช้เวลาน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้ก๊อซอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          ขั้นตอนการใช้ใบสาบเสือแห้งในการห้ามเลือด เริ่มจากการคัดเลือกใบสาบเสือชนิดสมบูรณ์ นำมาล้างทำความสะอาด หั่นฝอยตากแห้งโดยไม่ตากแดดโดยตรง นำมาบรรจุใส่ถุงชาเพื่อนึ่งฆ่าเชื้อแล้วนำใบสาบเสือแห้งห้ามเลือด ซึ่งแผลที่ใช้ใบสาบเสือห้ามเลือด เป็นแผลที่เกิดการฉีกขาดถึงระดับเส้นเลือดฝอย ไม่ได้ฉีกขาดถึงระดับเส้นเลือดแดงหรือเส้นเลือดดำ ข้อสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ การใช้ใบสาบเสือแบบแห้งสามารถห้ามเลือดใช้ระยะเวลาน้อยกว่าก๊อซ ผู้ป่วยบาดแผลที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป เป็นจุดที่ควรมีการพัฒนาต่อเพื่อแปรรูปสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้วงการแพทย์

          “สนใจเลือกใบสาบเสือมาใช้ในการศึกษา เนื่องจากแต่เดิมชาวบ้านที่เกิดแผลลักษณะเช่นนี้ จะใช้ใบสาบเสือสดในการห้ามเลือดก่อนมาที่โรงพยาบาล ทำให้เศษใบสดชิ้นเล็กๆ ติดกับเนื้อเยื่อ ต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดแผลก่อนเย็บเป็นเวลานาน จึงทดลองใช้แบบแห้งและเห็นว่าห้ามเลือดได้เช่นเดียวกัน จึงศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยการเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มใช้ใบสาบเสือกับกลุ่มใช้ก๊อซ จะเปรียบคนที่มีอายุใกล้เคียงกัน อวัยวะที่เกิดแผลเดียวกันและแผลฉีกขาดระดับเดียวกัน และได้ผลว่าใบสาบเสือแห้งห้ามเลือดหยุดเร็วกว่าใช้ก๊อซ”

          นางอรทัย กล่าวด้วยว่า อ.ไพรบึง มีที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ ทำให้มีผู้ป่วยอุบัติเหตุเป็นกลุ่มโรคอันดับที่ 4 ของงานอุบัติเหตุ รพ.ไพรบึง บวกกับพื้นที่ติดกับอำเภอชายแดน ซึ่งปี 2554 มีการสู้รบ จึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องประสิทธิผลการห้ามเลือดโดยใช้ใบสาบเสือแบบแห้ง เพื่อคัดกรองพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพปลอดภัย มาใช้ในการพัฒนาการห้ามเลือดให้มีประสิทธิภาพ และนำมาเปรียบเทียบรูปแบบเดิมที่ใช้ก๊อซในการห้ามเลือด วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของใบสาบเสือแบบแห้งใช้ในการห้ามเลือดจาก เนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอยที่มีการฉีกขาดเปรียบเทียบระยะเวลาของการห้าม เลือดโดยใช้ใบสาบเสือแบบแห้งและก๊อซ

 

http://bit.ly/SiL2xO

14 กันยายน 2555

Next post > เครือข่ายสุขภาพฯ ประกาศหนุนร่างพรบ.ควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับใหม่

< Previous post Breast cancer screening does 'more good than harm'

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด