logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 นักวิชาการเตือนเปิดประชาคมอาเซียน เสี่ยงต่างชาติแย่งชิงรับบริการสุขภาพคนไทย เผย คนชั้นกลางกระทบมากสุด แนะต้องเพิ่มกำลังผลิตบุคลากรสาธารณสุข ย้ำ เปิดการค้าเสรียิ่งเปิดช่องสินค้าไม่ได้มาตรฐาน และสินค้าทำลายสุขภาพหลั่งไหลเข้าไทยมากขึ้น
       
       วันนี้ (12 ก.ย.) ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้ อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กล่าวในงานเสวนา “ประชาคมอาเซียน 2558 โอกาสหรือวิกฤตระบบสุขภาพไทย” ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2555 ว่า ปัจจุบันไทยให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน 65 ล้านคน แต่หากมีประชาคมอาเซียนจะต้องเตรียมพร้อมการบริการให้กับคนถึง 575 ล้านคน ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหามาก หากไม่มีความพร้อมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะประเด็นข้อตกลงที่มีการหารือถึงประเด็นการอนุญาตให้กลุ่มประเทศ สมาชิก สามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการได้สูงสุดร้อยละ 70 ของบริการภาพรวม ซึ่งรวมถึงบริการสาธารณสุขด้วย ตรงนี้ต้องระวังเพราะจะส่งผลกระทบต่อคนไทยอย่างแน่นอน
       
       “ปัจจุบันประเทศไทยควบคุมไว้ไม่ให้ ต่างชาติลงทุนในประเทศเกินร้อยละ 50 จากบริการทั้งหมด แต่ก็มีพวกนอมินีใช้ชื่อคนไทยแทน และเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเมื่อใดจะยิ่งลำบาก เรื่องนี้แม้ปัจจุบันในกลุ่มประเทศอาเซียนยังไม่ได้แก้กฎหมายตามข้อหารือใน ระดับอาเซียนก็ตาม แต่ก็อยากให้จับตามองเรื่องนี้ด้วย เพราะหากมีการแก้กฎหมายคล้อยตามเมื่อใด จะกลายเป็นปัญหาใหญ่แน่นอน ซึ่งตรงนี้ต้องถามทางกระทรวงพาณิชย์ เพราะเข้าใจว่าดูแลเรื่องนี้” นพ.ภูษิต กล่าว

 นพ.ภูษิต กล่าวอีกว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่น่าจะเป็นปัญหาในอนาคต คือ ปัจจุบันโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ทั้งโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช ก็มีการยกระดับขึ้น อยากให้โรงเรียนแพทย์เหล่านี้คำนึงถึงปรัชญาเดิมที่ตั้งขึ้นเพื่อคนไทย แม้จะยกระดับเป็นเมดิคัล ฮับ แต่ขอให้ยึดประชาชนคนไทยเป็นหลักด้วย ไม่เช่นนั้น ต้องมีการแยกหน่วยออกไป นอกจากนี้ การเปิดเมดิคัล ฮับ สำหรับแรงงานต่างด้าวและชาวต่างชาติ อาจส่งผลกระทบต่อคนชั้นกลาง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะหาโรงพยาบาลเข้ารักษาตัวยาก ฉะนั้น สธ.ต้องทำงานในเชิงรุก โดยต้องมองว่าอย่างไรต่างชาติก็ต้องไหลเข้ามาสู่ประเทศทั้งแรงงานและคนรวย ต้องมีการวางแผนการผลิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ ไม่ใช่วางแผนสำหรับคนไทยเพียงอย่างเดียว
       
       “ปัจจุบันจำนวนแพทย์ต่อผู้ป่วยใน กทม.คิดเป็น 1 ต่อ 700-800 คน ส่วนในต่างจังหวัดคิดเป็น 1 ต่อ 9,000 คน หากเปิดประชาคมอัตราผู้ป่วยต่อแพทย์หนึ่งคนก็จะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น เราจะผลิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในปริมาณเท่าเดิมเหมือน 10-20 ปีที่แล้วไม่ได้ การจะไปอิมพอร์ตจากพม่า หรือประเทศอื่นๆ ก็จะทำให้ประเทศเขาขาดกำลังคน วิธีที่ดีที่สุดคือ การเพิ่มกำลังผลิตของไทยเอง โดยต้องวางแผนสำหรับคนอาเซียนที่จะเดินทางเข้ามารักษาตัวในประเทศไทย ไม่ใช่สำหรับคนไทยเพียงอย่างเดียว อยากฝากถึงปลัด สธ.คนใหม่และรัฐมนตรี สธ.ให้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวด้วย” นพ.ภูษิต กล่าว
       
       นพ.ภูษิต กล่าวด้วยว่า หากเข้าสู่อา เซียนจะส่งผลกระทบในเรื่องของสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ทั้งอาหารและยา รวมทั้งพวกสินค้าที่ทำลายสุขภาพ อย่างบุหรี่ และเหล้า ยิ่งมีการเปิดการค้าเสรีจะยิ่งทะลักเข้ามามาก อย่างไรก็ตาม ปัญหาบุหรี่ต้องระวัง ปัจจุบันในอาเซียนมีคนสูบบุหรี่ถึง 127 ล้านคน จีน มีคนสูบบุหรี่ 301 ล้านคน และมีกระแสข่าวว่า จีนกำลังจะสร้างโรงงานผลิตบุหรี่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีก ตรงนี้หากมีข้อตกลงอาเซียนพลัส 3 ซึ่งมี จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี ทั้งนี้ หากมีการเจรจาเปิดการค้าเสรี ระวังบุหรี่จีนจะเข้ามาไทยด้วย นอกจากนี้ ต้องเตรียมพร้อมการบริการผู้ป่วยต่างชาติในกลุ่มที่ไม่ร่ำรวย หรือกลุ่มแรงงานต่างด้าว อย่างพม่า ด้วย
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ชายแดนภาคใต้จะมีผลกระทบอย่างไรเมื่อเข้าสู่อาเซียน นพ.ภูษิต กล่าวว่า หากพูดถึงมาเลเซีย สิ่งที่ต้องระวังคือ การดึงพยาบาลไทย เพราะราคาค่าจ้างแพงกว่าไทยเท่าตัว แม้ปัจจุบันไทยจะมีนโยบายจูงใจแพทย์ แต่พยาบาลยังไม่มี เรื่องนี้ต้องระวังการดึงบุคลากรด้วย อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่ใช่จะมีแต่ผลกระทบ เพียงแต่หากมุ่งหวังด้านเศรษฐกิจ แต่ไม่ระวังผลกระทบแล้ว อาจเกิดปัญหาได้
       
       ด้าน พญ.ภาวนา อังคสิทธิ์ รอง ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่าส่วนแบ่งการตลาดในการบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเทศไทยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 สิงคโปร์ และ มาเลเซีย มีสัดส่วนร้อยละ 14 แม้ไทยจะมีสัดส่วนมาก แต่ปรากฏว่า รายได้ของไทยกลับมีเพียงร้อยละ 30 แต่สิงคโปร์ แม้สัดส่วนน้อยกว่ากลับมีรายได้ถึงร้อยละ 47 แสดงว่าคุณภาพการบริการดีมาก ทำให้ราคาสูงตามด้วย ดังนั้น ต้องกลับมามองจุดนี้ และพัฒนาให้ดีขึ้น

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000112597

13 กันยายน 2555

Next post > สธ.เปิดวอร์รูมช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

< Previous post สธ.เตือน ระวัง "ภาชนะปนเปื้อนสารตะกั่ว"

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด