logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ประเด็นจุกอกทุกครั้งสำหรับคนจน คนทั่วไปหรือคนถือบัตรทอง หรือบัตรประกันสังคมประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องยานอกบัญชี ยาที่ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นยาดียาเทวดา มีราคาแพง จึงอยู่นอกบัญชียาฟรีสำหรับประชาชนคนธรรมดา
       
       ยานอกบัญชีคืออะไร ยานอกบัญชีนั้นคือรายการยาที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในแต่ละปีมียาตัวใหม่ๆ เกิดขึ้นบนโลกนี้มากมาย ยาใหม่ส่วนหนึ่งคือยาที่ไม่ใหม่จริง กล่าวคือเป็นยาเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเล็กน้อย หรือนำเคมีหลักการต่อเติมสารอื่นเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้เกิดความใหม่เทียมและหวังผลด้านการค้าเป็นสำคัญ ยาใหม่แต่ละตัวนั้นจะมีการทำการทดลองในมนุษย์และสรุปผลออกมา หากผลการรักษาไม่น่าเชื่อถือ ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างจากยาเดิมที่มีอยู่ ราคาค่ายาแพงมาก แต่ผลที่ดีขึ้นนั้นกลับไม่มาก หรือเป็นยาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าวิจัย ยาที่ไม่มีผลการรักษาที่แน่ชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยชาวผิวเหลือง ยาเหล่านี้จะไม่ถูกพิจารณานำเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย รอจนกว่าจะมีผลการศึกษาวิจัยที่เปลี่ยนไปและยืนยันว่าดีจริงคุ้มค่าจริง หรือเป็นยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพการรักษาที่ดี รักษาโรคใหม่ได้อย่างชัดเจนจริง มีข้อมูลรองรับมากพอ ยาเหล่านี้ก็จะมีโอกาสถูกนำเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ
       
       อย่างไรก็ตาม ก็ยังยากที่จะลบความเชื่อที่เกิดจากความสับสนในหมู่ประชาชน ว่า ยาในบัญชียาหลัก คือ ยาพื้นฐาน ทุกสิทธิบัตรประกันสุขภาพประกันสังคมล้วนให้เบิกได้ฟรี แต่ยานอกบัญชียาหลัก คือ ยาเทวดา ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง เฉพาะกลุ่มข้าราชการหากจะให้เบิกได้ก็ต้องผ่านการรับรองจากแพทย์ว่าจำเป็น ต้องใช้จริง ความเชื่อที่ว่ายานอกบัญชียาหลัก คือ ยาที่ดีกว่ายาในบัญชีนั้นอันนี้โดยส่วนใหญ่ไม่จริง แต่ความจริงบางส่วนที่อาจจะยอมรับได้ คือ ยานอกบัญชียาหลักบางตัวนั้น อาจให้ผลดีกว่าเช่นลดระดับความดันโลหิตได้ดีกว่าสัก 10% แต่ราคาสูงกว่ายาในบัญชียาหลักสองเท่าห้าเท่า เป็นต้น ในทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขจึงไม่มีความคุ้มค่าที่ควรนำมาใช้ จึงจัดอยู่ในกลุ่มนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
       
       คำถามคือทำไมหมอจึงยังมีการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างมากมาย อันนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก มีเหตุผลอันหลากหลายขึ้นกับตัวบุคคล ขึ้นกับลักษณะของสถานพยาบาล ส่วนหนึ่งเพราะความเชื่อความคุ้นเคยของแพทย์ต่อการสั่งยาตัวนั้นที่อยู่นอก บัญชียาหลัก หรืออาจเป็นความหวังดีของแพทย์ที่เห็นว่าเมื่อผู้ป่วยมีปัญญาจ่ายหรือมีคน จ่ายให้เช่นทางราชการจ่ายให้ บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้ก็สั่งยาที่ราคาแพงให้ก็ไม่ได้เสียหายอะไร อีกส่วนก็เป็นเพราะอิทธิพลทางการค้าที่แพทย์และโรงพยาบาลอาจได้ประโยชน์จาก ยาตัวนั้นๆ ไม่ว่าจากการไปประชุมเมืองนอก หรือของฝากของชำร่วยที่บริษัทยาส่งให้ด้วยแนวคิดของการทำการตลาดผ่านวิชาชีพ สุขภาพ รวมทั้งการทำกำไรของโรงพยาบาลก็มาจากเงินส่วนต่างค่ายา กำไร 100% ของยาแพงซึ่งเป็นยานอกบัญชียาหลักย่อมมากกว่า 100% ของยาในบัญชียาหลักที่ถูกกว่า และอาจมีเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย
       
       ยานอกบัญชียาหลักจะยังหลอก หลอนสังคมไทยไปอีกนานเท่านาน สองมาตรฐานคงไม่ง่ายในการแก้ไข แต่การรู้ให้เท่าทันเป็นสิ่งจำเป็นในโลกของระบบสุขภาพอันซับซ้อนนี้

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000111528

11 กันยายน 2555

Next post > Knocking on doors to end HIV in Philadelphia

< Previous post รัสเซีย เตรียมพิมพ์′ภาพช็อก′ บนซองบุหรี่ หวังลด′สิงห์อมควัน′ที่ติดอันดับโลก

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด