logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมพิจารณาผลการประเมินและข้อเสนอเชิงนโยบายเบื้องต้นจากการประเมินการนำนโยบายบริหารจัดการกองทุนสร้างเสริมและป้องกันโรคภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่

ผลประเมินเบื้องต้นของการนำนโยบายบริหารจัดการกองทุนสร้างเสริมและป้องกันโรคในระดับบุคคลและครอบครัว (P&P) พบยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าการปฏิบัติงานในพื้นที่ถูกใช้เพื่อจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์จริง เนื่องจากขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการบริหารจัดการงบในพื้นที่ ขาดการติดตามประเมินผล ไม่มีการสร้างแรงจูงใจทั้งกับผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ

เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 ดร. ภญ.ศิตาพร ยังคง นักวิจัย HITAP ได้นำเสนอผลการประเมินและข้อเสนอเชิงนโยบายเบื้องต้นจากการประเมินการนำนโยบายบริหารจัดการกองทุนสร้างเสริมและป้องกันโรคในระดับบุคคลและครอบครัว (P&P) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ การประชุมมีจุดประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อผลการศึกษาของโครงการและข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยมีผู้แทนจาก สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มูลนิธิสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต สำนักงานตรวจราชการกระทรวง สำนักส่งเสริมสุขภาพ และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ดร. ภญ.ศิตาพร ยังคง นำเสนอผลการศึกษาว่า การจัดสรรงบประมาณ P&P ในระดับเขต จังหวัด และอำเภอ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของคณะกรรมการบริหารฯ ในแต่ละระดับ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการด้านนโยบายและงบประมาณ P&P บ่อยครั้ง ทำให้พื้นที่เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือปรับเปลี่ยนการดำเนินงานไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ สำหรับการจัดสรรงบประมาณไปที่หน่วยบริการได้มีการแบ่งงบประมาณออกเป็นหลายประเภท แต่ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่างบประมาณเหล่านั้นได้ถูกใช้เพื่อจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์จริง ทั้งนี้ ชุดสิทธิประโยชน์ P&P ส่วนหนึ่งขาดความชัดเจน มีมาตรการเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับงบประมาณที่มี ประชาชนผู้มีสิทธิไม่ทราบว่าการให้บริการ P&P การบริหารงบประมาณไม่สร้างแรงจูงใจในการให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์และขาดการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
ในส่วนของข้อเสนอเชิงนโยบาย โครงการฯ เสนอให้มีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ และให้มีการยอมรับจากทุกภาคส่วน มีการกำหนดต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละมาตรการให้สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด ประชาสัมพันธ์ในประชาชนตระหนักถึงสิทธิฯ และมารับบริการที่พึงได้ ควรพิจารณาระบบจ่ายเงินที่สร้างแรงจูงใจในการให้บริการ P&P และง่ายต่อการติดตามประเมินผล และควรปรับปรุงฐานข้อมูลเพื่อให้วิเคราะห์ได้ว่าประชาชนกลุ่มใดที่เข้าไม่ถึง หรือไม่มารับบริการด้วย

ภายหลังการนำเสนอ ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความเห็นว่า การทำงาน P&P เป็นเรื่องสำคัญ และแม้จะมีเทคโนโลยีหรือทรัพยากรต่างๆ ครบถ้วน แต่ถ้าขาดการบริหารจัดการที่ดี ผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เกิดสุขภาพที่ดีของประชาชนก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งจำเป็นต้องทำให้เกิด evidence-based management ก่อน นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงรูปแบบและผลกระทบต่อระบบจ่ายเงินเพื่อสร้างแรงจูงใจในการบริการ เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจต่อไป

ท่านสามารถติดรายงานการประชุมได้ที่ https://www.hitap.net/research/24215

2 ตุลาคม 2558

Next post > ประชุมผู้เชี่ยวชาญ การประเมินบริการอนามัยโรงเรียน ระดับประถมศึกษา

< Previous post ประชุมกำหนดคำถามวิจัยเรื่องการตรวจคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ด้วย spirometry ในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด