logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.จับมือเอ็นจีโอด้านเอดส์ผลิตสื่อ รณรงค์ให้คนรู้ผลเลือดเอชไอวีของตัวเอง ชี้รู้ผลเร็วเป็นผลดีต่อการดูแลสุขภาพ ช่วยให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์เข้าถึงการรักษามากขึ้น
          นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึง เอดส์ กล่าวว่า สถานการณ์เอดส์ในปัจจุบันเปลี่ยนไป คนเริ่มประเมินความเสี่ยงที่แท้จริงต่อการรับเชื้อเอชไอวีได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คนจำนวนหนึ่งยังมีความกังวลที่จะรู้ผลเลือดของตนเองซึ่งมาจากหลายสาเหตุ สาเหตุแรกคือ กังวลเรื่องความลับ โดยเกรงว่าเมื่อไปตรวจแล้วคนอื่นจะรู้หรือสงสัยว่าไปทำพฤติกรรมที่มีความ เสี่ยงมา ข้อนี้เป็นปัญหาซับซ้อนเพราะคนมักจะผูกโยงเรื่องเอดส์กับทัศนคติเดิมของตัว เองที่มีต่อเรื่องเพศ โดยมองว่าผู้ติดเชื้อเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมที่ไม่ดี ซึ่งจริงๆ แล้วการมองแบบนี้ไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับทำให้ปัญหาซับซ้อนและแก้ยากขึ้น ส่วนสาเหตุที่สองที่ทำให้คนไม่ไปตรวจเลือดคือ คิดว่ารู้ผลไปแล้วก็ช่วยอะไรไม่ได้ คิดว่าเอดส์เป็นแล้วตาย ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เก่ามาก ปัจจุบันเอดส์รักษาได้แล้ว ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งก็คือไม่รู้ว่าจะไปตรวจที่ไหน ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่อย่างไร
       
       “จากการเปิดบริการ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์ พบว่า ผู้รับบริการหลายรายกังวลเรื่องที่จะไปตรวจเลือด เช่น ผู้รับบริการรายหนึ่งทราบข้อมูลการรักษาเอชไอวี/เอดส์ผ่านรายการทีวี และประเมินได้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงเพราะเคยมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน เมื่อ 5-6 ก่อน มีความกังวลว่าจะได้รับเชื้อ จึงอยากตรวจเลือดแต่ไม่ทราบว่าจะไปตรวจที่ไหน กรณีแบบนี้ หากผู้รับบริการคนนี้ได้รับเชื้อจริง ระดับภูมิคุ้มกันก็น่าจะเหลือน้อยจนเกือบป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสและต้องรับยา ต้านไวรัสแล้ว เนื่องจากเกณฑ์เฉลี่ยคนไทยจะป่วยเมื่อรับเชื้อไปแล้ว 7-10 ปี ซึ่งถ้ารู้ผลเลือดเร็วกว่านี้จะเป็นผลดีต่อการดูแลสุขภาพ เพราะหากตรวจแล้วไม่ติดเชื้อก็จะได้หาวิธีทำให้ผลเลือดเป็นลบตลอดไป หรือหากตรวจแล้วติดเชื้อก็จะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็ว ไม่ต้องรอให้เจ็บป่วย” นายนิมตร์กล่าว
       
       นายนิมิตร์กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิจัยเอดส์ สภากาชาดไทย และองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ร่วมกันรณรงค์ให้คนรู้ผลเลือดเอชไอวีของตัวเอง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ในการผลิตสื่อเพื่อรณรงค์เรื่องดังกล่าวภายใต้คำขวัญ “เอชไอวี…ตรวจเพื่อก้าวต่อ” สื่อที่ผลิตได้แก่ สปอตโฆษณา 30 วินาทีและคลิปวิดีโอแอนิเมชันความยาว 2.20 นาที โดยสปอตโฆษณา 30 วินาทีนั้น มีเนื้อหาทำให้ผู้ชมเห็นว่าการตรวจเลือดไม่ได้น่ากลัวแต่กลับเป็นผลต่อการ วางแผนดูแลสุขภาพ ประชาชนทุกสิทธิการรักษาสามารรถขอรับบริการตรวจเลือดเอชไอวีได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง ที่สถานพยาบาลภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกแห่ง ส่วนคลิปวิดีโอแอนิเมชันนั้นเน้นกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นให้สามารถประเมินความ เสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ และเข้าสู่กระบวนการตรวจรักษาเอชไอวี
       
       ผู้สนใจสื่อดังกล่าวสามารถเข้าชมได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=GkOXVY40tAQ สำหรับสปอตโฆษณา และ http://www.youtube.com/watch?v=L5yxeRtFyZw สำหรับคลิปวิดีโอแอนิเมชัน หรือหากมีความกังวลเรื่องเอดส์สามารถโทร.ปรึกษาได้ที่ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์ทุกวัน 10.00-20.00 น.

 

 

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000108375

4 กันยายน 2555

Next post > Call for debate on freezing IVF embryos

< Previous post BMA head Mark Porter's NHS claims rejected

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด