logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“วิทยา” กำชับ สสจ.ทั่วประเทศรับมือภัยน้ำท่วม สั่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.เฝ้าระวังโรคฉี่หนู เผย รอบ 8 เดือนพบผู้ป่วยกว่า 2,000 ราย เสียชีวิต 32 ราย ย้ำหากป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่อง และตาแดง ให้รีบพบแพทย์
       
       นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้หลายพื้นที่มีฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก หรือดินโคลนถล่มได้ ได้เน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่ง เตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม และการรับแจ้งเหตุทางหมายเลขสายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนกรณีเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่น่าห่วงอีกเรื่อง คือ โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) ซึ่งเป็นโรคที่พบมากในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำไหลหลาก แม้ว่าน้ำจะท่วมไม่มากและลดเร็วก็ตาม ปัญหาที่ตามมา และพบได้เสมอก็คือจะมีแหล่งน้ำขังจำนวนมาก และดินโคลนเฉอะแฉะ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคฉี่หนูปนเปื้อนอยู่ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากโรคนี้ ได้กำชับให้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศ หรือ อสม.ให้เฝ้าระวังและประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนประชาชนให้ป้องกันตัวเอง
       
       ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อฉี่หนู เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น หนู วัว ควาย จะพบมากที่สุดในฉี่ของหนูทุกชนิด เชื้อจะออกมากับฉี่ และปนเปื้อนอยู่ตามแอ่งน้ำขังต่างๆ ดินโคลนที่เฉอะแฉะ และเข้าสู่ร่างกายคนเราได้ 2 ทาง คือ จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป และเข้าทางเยื่อบุในปาก หรือตา บาดแผล รอยผิวหนังถลอก รวมทั้งผิวหนังปกติที่แช่น้ำนานๆ โดยจะมีอาการป่วยหลังได้รับเชื้อประมาณ 7-10 วัน
       
       สถานการณ์ในปี 2555 ตั้งแต่มกราคม-สิงหาคม สำนักระบาดวิทยา รายงานพบผู้ป่วยโรคฉี่หนูทั่วประเทศ 2,134 ราย เสียชีวิต 32 ราย พบผู้ป่วยกระจายอยู่ทุกภาค อัตราป่วยสูงที่สุดที่ภาคใต้ รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เป็นเกษตรกรร้อยละ 58 รองลงมาอาชีพรับจ้างร้อยละ 19 และนักเรียนร้อยละ 11 สำหรับในปี 2554 ตลอดทั้งปี พบผู้ป่วย 3,930 ราย เสียชีวิต 70 ราย
       
       นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ลักษณะอาการ เฉพาะของโรคฉี่หนู คือ มีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่น่องขาทั้ง 2 ข้าง ตาแดง หากมีอาการเหล่านี้ ขอให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการลุยน้ำย่ำโคลน เพื่อให้การรักษาอย่างถูกต้อง โรคนี้คนมักเข้าใจผิดบ่อยๆ คิดว่าเป็นไข้เพราะทำงานยกของหนัก และมักไปซื้อแก้ปวดลดไข้กินเองกินติดต่อกันหลายวัน ทำให้ไปรับการรักษาช้า และมีอาการรุนแรงขึ้น เพราะยาแก้ปวดลดไข้ไม่สามารถฆ่าเชื้อเลปโตสไปโรซิสได้ ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ไตวาย หัวใจล้มเหลว สมองและไขสันหลังอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด การป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคนี้ ขอให้ประชาชนใส่รองเท้าบู๊ทหากต้องเดินลุยน้ำย่ำโคลน รีบชำระล้างทำความสะอาดร่างกายทันทีเมื่อขึ้นจากน้ำ เก็บอาหารที่ค้างคืนไว้ในตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ตู้เย็นไว้ และดูแลกำจัดขยะ โดยเฉพาะเศษอาหาร เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู รวมทั้งให้ล้างผักสดที่เก็บจากข้างรั้วหรือตามไร่นาให้สะอาดก่อนรับประทาน

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000107973

3 กันยายน 2555

Next post > Thalidomide victims: drugmaker's apology not enough

< Previous post สธ.ชูกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ช่วยคนไทยไม่ล้มละลายจากเจ็บป่วย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด