“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ-สสส. เปิดศูนย์เรียนรู้ป่าเชียงเหียน จ.มหาสารคาม หนุนชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพ อนุรักษ์ตำรับยาพื้นบ้านได้ 17 ตำรับ พืชสมุนไพรอีก 57 ชนิด เผยชาวบ้านในพื้นที่มีสารเคมีตกค้างในเลือด 25% ชี้เกิดจากสารเคมีการเกษตร
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวภายหลังพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ป่าเชียงเหียนเพื่อขับเคลื่อนระบบ สุขภาพชุมชน ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ วัดป่าประชาสโมสรบ้านเชียงเหียน จ.มหาสารคาม ว่าการพัฒนาป่าให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้บ้านเชียงเหียนเป็นเรื่องที่ดี เป็นต้นแบบการปลูกป่า และเป็นแหล่งเรียนรู้การดูแลสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแบ่งพื้นที่ป่า 3 ลักษณะ คือ1.ป่าสมุนไพรตำรับบ้านเชียงเหียน 2.ป่าเชิงนิเวศ และ3.ป่าสมุนไพรเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ป่าสมุนไพรตำรับบ้านเชียงเหียนและป่าเชิงนิเวศ อยู่ในช่วงเจริญเติบโต ต้องอาศัยเวลา 5-15 ปีขึ้นไป ส่วนป่าสมุนไพรเศรษฐกิจใช้สำหรับขายยาสมุนไพรของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งมีการปลูกทดแทนทุกครั้งโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านดูแล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลนสมุนไพรขึ้น