“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

นักวิชาการด้านสาธารณสุข กังวล การทำเอฟทีเอไทย-อียู ส่งผลต่อการเข้าถึงยา ทำให้ยามีราคาแพงขึ้น และอาจจะส่งผลต่อการเสนอขยายเวลาสิทธิบัตรยา จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องระดมความเห็นและประเมินผลกระทบ ด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดการประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดย สาธารณะ กรณีศึกษาผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อียู ต่อการเข้าถึงยา เภสัชกรวินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา กล่าวว่า หลังจากสหภาพยุโรปเปลี่ยนแนวทางการเจรจาในระดับอาเซียนมาเป็นแบบทวิภาคี กับประเทศที่มีความพร้อมในการพัฒนา 3 ประเทศคือ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย
โดยอียูแสดงความสนใจที่จะเจรจากับไทยอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อพิจารณาร่างเนื้อหาการเจรจาพบว่า ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงยา คือการขอขยายระยะเวลาสิทธิบัตร ที่เป็นลักษณะที่เกินกว่าข้อตกลงพหุพาคีภายใต้องค์การการค้าโลก ว่าด้วยสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความตกลงการค้าเสรี ไทยกับสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงยาของประชาชน
ดังนั้น เพื่อให้ไทยสามารถกำหนดนโยบายและแนวทางในการเจรจาที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ จึงจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพแบบ สมบูรณ์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดท่าทีการเจรจาต่อไป
นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบและเครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเปิดรับฟังความเห็นในส่วนนักวิชาการซึ่งมีข้อกังวลใจใน 2 ประเด็นหลัก คือ ราคายาที่อาจแพงขึ้น และสิทธิบัตรยาที่อาจทำให้บริษัทยาต่างประเทศได้เปรียบ ในการประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วม และคาดว่าหลังจากนี้ไม่เกิน 2 เดือน จะนำข้อมูลมาประมวลผลและสรุปผลการประเมินส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาต่อไป
http://bit.ly/PqqHFv