logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

       โรคประหลาดคล้ายเอดส์ ที่ ยังไม่มีชื่อเรียกนี้ เป็นโรคที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี พบมานับ 10 ปี เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้มีอาการป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดต่างๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มมัยโคแบคทีเรีย การติดเชื้อราที่อาการรุนแรง เป็นต้น ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการไข้เรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองอักเสบหลายแห่ง ร่วมกับปอดอักเสบ ฝีตามอวัยวะต่างๆ รวมทั้งผิวหนังอักเสบเป็นหนอง
       
       โรคดังกล่าวไม่ใช่โรคติดต่อ พบไม่บ่อย และไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติเหมือนอย่างโรคเอดส์ที่ รู้ว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง และไม่ได้เกิดจากรับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันต่างๆ โรคนี้พบมากในชาวเอเชียรวมทั้งคนไทย มักเกิดในผู้ใหญ่อายุเฉลี่ย 40-50 ปี
       
       การรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน เป็นการรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสด้วยยาต้านจุลชีพ ผู้ป่วยอาจมีการดำเนินโรคแตกต่างกัน การรักษาขณะนี้ ทำให้โรคติดเชื้อฉวยโอกาสสงบ แต่อาจมีการกำเริบหรือพบการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ เป็นครั้งคราว
       
       ขณะนี้ คณะผู้วิจัยซึ่งเป็นแพทย์โรคติดเชื้อจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล รวมถึงคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะผู้วิจัยจากสถาบันสุขภาพอเมริกา ได้ทำการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการสร้างสารแอนติบอดีต่อสารอินเตอร์เฟอรอนแกมม่า ทำให้ภูมิคุ้มกันซึ่งใช้ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ดังกล่าวผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยจากการติดเชื้อฉวยโอกาสเหล่านั้น ซึ่งขั้นต่อไปคณะผู้วิจัยกำลังวางแผนการวิจัยเพื่อให้รู้สาเหตุการก่อโรค เพื่อจะได้วางแผนการรักษาโรคนี้ให้หายขาด
       
       ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรมารับการตรวจตามขั้นตอนจากแพทย์โรคติดเชื้อ เพราะการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องแม้ไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000105970

29 สิงหาคม 2555

Next post > นักวิชาการสาธารณสุข กังวล หากไทยทำเอฟทีเอ-อียู ทำให้ยาแพง เข้าถึงยาก

< Previous post สธ.เร่งพัฒนา 6 ยุทธศาสตร์บริหารยา เน้น ถูก ดี มาตราฐานเดียวทุกกองทุน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด