“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

แพทย์เตือนเด็กไทยร้อยละ 50 ที่กินแต่นมผงไม่กินนมแม่เสี่ยงป่วยมากกว่า 3-5 เท่า มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หนุนมติ ครม.ห้าม บริษัทนมผงทำการตลาดนมทารกทุกรูปแบบ พร้อมระบุว่า นมแม่คืออาหารวิเศษที่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน
เวทีเสวนางานสัปดาห์นมแม่โลก 2555 หัวข้อ “ช่วยเด็กไทยให้ได้กินนมแม่” จัดโดยมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งชาติ โดยการสนับสนุนจาก สสส. องค์การพันธมิตรนมแม่โลกเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีสมาชิกกว่า 120 ประเทศทั่วโลกกำหนดให้วันที่ 1-7 สิงหาคมของทุกปีเป็น “สัปดาห์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โลก” เพื่อรณรงค์ให้แม่ทั่วโลกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรกมากขึ้น
พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร รองประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ กล่าวในเวทีเสวนาว่า ปัจจุบันการโฆษณานมผงในประเทศไทยทำการตลาดรุนแรงมาก โดยอ้างว่ามีการเติมสารอาหารต่างๆ ให้เทียบเท่าสารอาหารจากนมแม่ นอกจากนี้การโฆษณานมผงที่ ระบุว่าเพิ่มสาร DHA AA เป็นการโฆษณาเกินจริง ซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศว่าเชื่อถือไม่ได้
และจากการสำรวจของกรมอนามัย พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนคิดเป็นร้อยละ 29 ในปี 2552 เพิ่มจากปี 2548 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 แต่ยังมีเด็กทารกได้นมผสมเมื่อแรกเกิดถึง 6 เดือนคิดเป็นร้อยละ 50 หรือ ราว 400,000 คนต่อปี สาเหตุคือการทำการตลาดของนมผง เช่นการแจกตัวอย่างนมผงและชุดของขวัญให้แม่เด็กทำให้แม่ทดลองใช้มากขึ้นมีผล ต่อการสร้างนมแม่ลดลงการบริจาคนมผงให้โรงพยาบาลเพื่อใช้เลี้ยงทารกแรกเกิดทำ ให้เด็กเสียโอกาสได้รับหัวน้ำนม
นางพรธิดา พัดทอง ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทยกล่าวว่า จากการศึกษาผลกระทบการทำการตลาดนมผงในโรงพยาบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 1,239 แห่ง ใน 20 รัฐเมื่อปี 2554 พบว่า โรงพยาบาลรัฐที่มีกฎหมายห้ามบริษัทนมผงทำการตลาดทำให้มีอัตราการเริ่มต้น เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 81.5 มากกว่าโรงพยาบาลในรัฐที่ไม่มีกฎหมายห้าม
http://bit.ly/QFGaSl