logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

‘ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ’…โอกาสประเทศไทย : คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษ : นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข

                 ศูนย์กลางสุขภาพนานา ชาติ หรือ เมดิคัลฮับ (Medical Hub) หนึ่งในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีการร่างยุทธศาสตร์การดำเนินงานมาแล้วถึง 2 ฉบับ ฉบับแรก ปี 2547-2551 ขณะนี้อยู่ในช่วงฉบับที่ 2 ปี 2553-2557 ตามแผนพัฒนาในบริการ 4 สาขา ได้แก่ บริการทางการแพทย์ สปา แพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทย เป้าหมายหลักต้องการนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย และก่อให้เกิดการพัฒนาด้านบริการสุขภาพในประเทศ ล่าสุดปี 2554 มีรายได้ประมาณ 97,874 ล้านบาท มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และรับบริการด้านสุขภาพเป็นจำนวนมากถึง 2.2 ล้านคน ถือเป็นโอกาสที่ดีของเมืองไทย

   นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ขยายความการพัฒนาในแต่ละสาขาว่า บริการทางการแพทย์ ประเทศไทยมีคุณภาพสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานพยาบาลภาคเอกชนและมหาวิทยาลัย ปัจจุบันได้รับการรับรองมาตรฐาน ระดับนานาชาติ หรือมาตรฐาน เจซีไอเอ (Joint Commission International on Accrediation)แล้ว 21 แห่ง ภาครัฐสนับสนุนการเดินทางของผู้ป่วยต่างชาติเข้ามาใช้บริการด้านนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้มีการขยายเวลาพำนักในประเทศไทยของกลุ่มประเทศ ตะวันออกกลาง 5 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ กาตาร์ คูเวต โอมาน และบาห์เรน จาก 30 วัน เป็น 90 วัน และขยายเวลาต่อเนื่องรวมแล้วไม่เกิน 1 ปี กรณีที่เดินทางเข้ามาเพื่อรับการรักษาพยาบาล โดยอนุญาตในส่วนของผู้ป่วย ครอบครัว ผู้ติดตามรวมไม่เกิน 3-5 คน จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป

                 ทั้ง 5 ประเทศตะวันออกกลาง ให้ความนิยมในการเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยพร้อมครอบครัว จำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และอยู่ในประเทศไทยต่อแบบระยะยาว จากสถิติการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2554 พบว่า คนสัญชาติบาห์เรนเดินทางเข้าทั้งหมด 22,873 ราย คูเวต 59,557 ราย โอมาน 57,571 ราย กาตาร์ 20,280 ราย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 109,362 ราย ส่วนจำนวนผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางที่เข้ามารักษาพยาบาลในไทยเพิ่มขึ้นจาก 20,004 รายในปี 2545 เป็น 169,091 รายในปี 2550 ที่สำคัญยังไม่ปรากฏชัดในฐานข้อมูลอาชญากรรม หรือการก่อการร้ายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                 “ที่มีฝ่ายคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ เหตุผลสำคัญเพราะเกรงว่า จะเกิดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์สมองไหลจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่วนตัวเห็นว่า ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากนโยบายเมดิคัลฮับโดยตรง แต่เป็นผลจากการที่เงินเดือนและค่าตอบแทนในภาครัฐน้อยกว่าภาคเอกชนราว 5-10 เท่า ดังนั้น การแก้ปัญหารัฐต้องมีการเสริมสวัสดิการให้แก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อเป็น ขวัญกำลังใจ และดึงคนให้อยู่ในระบบรัฐอย่างยั่งยืน เพราะทุกคนล้วนมีสิทธิ์เลือกในสิ่งทีดีกว่า”

                 อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวต่อไปว่า สปาไทย ที่มีจุดเด่นอย่างยิ่งในเรื่องสถานที่ และบุคลากรที่มีความอ่อนน้อม ทำให้ต้องเร่งการออก พ.ร.บ.สปา ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยจะกำหนดคุณภาพและมาตรฐาน ให้มีการขึ้นทะเบียนสปา ก่อนการอนุญาตพิจารณาตั้งแต่สถานที่ ผู้จัดการสปา สปาเทอราปี และบริการ หากไม่ขึ้นทะเบียนจะถือเป็นสปาเถื่อน มีโทษทั้งจำและปรับ จะทำให้ผู้ใช้บริการมั่นใจมากขึ้น ไม่เพียงแต่มีชื่อเสียงภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่สปาไทยยังได้รับการยอมรับในต่างประเทศด้วย ทั้งประเทศเยอรมนี ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย บางประเทศต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 เดือน ซึ่งจะต้องส่งเสริมให้มีรวมกลุ่มสปาไทยในต่างแดนจัดตั้งเป็นสมาคม เพื่อถ่ายทอดความรู้ และช่วยเหลือกันและกัน เป็นการสร้างรายได้ให้คนไทย และส่งกลับประเทศ

                 นอกจากนี้ ก็ยังมีเรื่อง แพทย์แผนไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการออก พ.ร.บ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ที่จะนำไปสู่การจัดตั้งสภาแพทย์แผนไทย ทำหน้าที่ควบคุมมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์แผนไทย เช่นเดียวกับแพทยสภาที่ควบคุมแพทย์แผนปัจจุบัน โดยหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกของสภา เพื่อขอรับรองใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่แพทย์แผนไทยที่จะให้การรักษา

                 สุด ท้าย เป็นเรื่องของ สมุนไพรไทย ที่ต้องมีการพัฒนาให้อุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทยได้มาตรฐานจีเอ็มพี ต้องมีการตรวจสอบ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก เก็บรักษา และผลิตเพื่อสร้างจุดแข็ง รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ จะมีการคัดเลือก “พระเอกของสมุนไพรไทย” จัดทำเป็น product of the year สำหรับให้ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย นำกลับไปประเทศของเขา เช่น โสมเกาหลี บัวหิมะของจีน เป็นต้น เบื้องต้นอาจจะเป็น ขมิ้นชัน หรือ กระชายดำ แต่ต้องผ่านการพิจารณาของผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง

                นพ.สมชัย ให้ความมั่นใจว่า ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบที่จะเป็น เมดิคัล ฮับ มากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ เนื่องจากเมืองไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางของภูมิภาคอาเซียน บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ทันสมัยไม่เป็นรองประเทศใด ที่สำคัญ ระบบบริการมีมาตรฐาน ดูแลด้วยความเอาใจใส่ จิตใจให้บริการอย่างแท้จริง ซึ่งเมืองไทยถือว่า ดีที่สุดในกลุ่มประเทศใกล้เคียงทั้งหมด

                “เมดิคัลฮับ” ไม่เพียงแต่สร้างรายได้เข้าประเทศซึ่งเป็นหัวใจหลักเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะเกิดการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการแพทย์ที่จะมีนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้น คนไทยจะได้รับประโยชน์มากที่สุดด้วย”

                  “เมดิคัลฮับ” ไม่เพียงแต่สร้างรายได้เข้าประเทศซึ่งเป็นหัวใจหลักเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะเกิดการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการแพทย์ที่จะมีนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้น คนไทยจะได้รับประโยชน์มากที่สุดด้วย”

(‘ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ’…โอกาสประเทศไทย : คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษ : นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข )

 

http://bit.ly/Nwa3nE

27 สิงหาคม 2555

Next post > สธ.พัฒนาระบบยาสนองนโยบายยาดีมีคุณภาพไม่แพง

< Previous post สธ. ยันไม่พบไวรัสเวสไนล์ระบาดในไทย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด