logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันไม่พบไวรัสเวสต์ไนล์ ในประเทศไทย โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ด้าน ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคระบาดของสหรัฐฯ ประกาศภาวะฉุกเฉินเตือนผู้ที่เดินทางไปสหรัฐฯ ให้พกยาทากันยุงติดตัว หลังพบผู้เชื้อไวรัส เวสต์ไนล์ ที่มียุงเป็นพาหะกว่า 1,000 คน เสียชีวิตไปแล้ว 41 คน

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือ CDC ของสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ระบุ ยอดผู้ติดเชื้อไวรัส เวสต์ ไนล์ ถึงเมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวน รวม 1,118 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตไปแล้ว 41 คน มีการระบาด 47 รัฐทั่วประเทศ โดยรัฐเท็กซัสมีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 586 คนและเสียชีวิต 21 คน และมีผู้ติดเชื้อสูงมากในรัฐมิสซิสซิปปี้ , หลุยเซียน่า, เซาท์ดาโกต้า และโอกลาโฮม่า พร้อมเตือน ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ป้องกันตัวเองและครอบครัวให้พ้นจากความเสี่ยงต่อการถูกยุงกัด และแนะนำให้ทำลายแหล่งน้ำขัง เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง  

ทั้งนี้ มีข้อมูลรายงานว่า ปกติจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงสุดช่วงเดือน สิงหาคม และ กันยายน แต่ปีนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดนับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกในสหรัฐฯ เมื่อปี 2542 และยังไม่รู้ว่าตลอดปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนเท่าใด เพราะระยะเวลา 8 เดือนแรกของปีนี้มีผู้ติดเชื้อสูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในปีที่แล้ว ร้อยละ 55 ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีผู้ที่ติดเชื้อ ร้อยละ 20 ที่จะแสดงอาการป่วย ซึ่งจะมีอาการตั้งแต่ มีไข้ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน และอาจนำไปสู่อาการต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นบริเวณไหล่ หลัง หรือท้อง หรือ ถึงขั้นโคม่า จนเป็นอัมพาตได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเพียง 2-3 วัน หรือ หลายสัปดาห์ได้ และผู้ที่มีอาการเล็กน้อย สามารถหายเองได้

ส่วนสาเหตุที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากในปีนี้ ทางการสหรัฐฯ คาดว่า อาจเป็นเพราะสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว ฝนตกหนักในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และอากาศที่ร้อนกว่าปกติในฤดูร้อน ทำให้ประชากรยุงเพิ่มสูงขึ้น และส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีการตัดงบประมาณทำให้บางหน่วยงานลดการเฝ้าระวัง และลดการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคระบาดแก่ประชาชน

ขณะที่ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เตือนประชาชน อย่าตื่นตระหนก เพราะในประเทศไทยยังไม่พบเชื้อไวรัสดังกล่าว ขณะเดียวกันก็มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการดำเนินการตรวจเลือดสัตว์ที่จะเป็นพาหะแหล่งรังโรค ได้แก่ นกที่อยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ป่า สัตว์สี่เท้า เช่น โค กระบือ  

ไวรัสเวสต์ไนส์ พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 ในยูกันดา ทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ประเทศไทยเฝ้า ระวังมาโดยตลอด วงจรของไวรัสเริ่มจากยุงกัดสัตว์ที่ติดเชื้อ จากนั้นภายใน 2-3 วัน ยุงมากัดคนหรือสัตว์ต่อ ไวรัสจะมีระยะฟักตัว 3-15 วัน จากนั้นจะสามารถแพร่ระบาดในลักษณะเดียวกัน

 

http://bit.ly/RhQMvg

24 สิงหาคม 2555

Next post > 'ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ'...โอกาสไทย

< Previous post สธ.พัฒนา รพ.สต.พื้นที่ทุรกันดาร ให้คำปรึกษาระบบการแพทย์ทางไกล

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด