logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเป็นผลเสียต่อสุขภาพของคนทั่วโลกไม่เฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น

วารสาร Lancet รายงานว่า การขาดกิจกรรมที่ทำให้ต้องออกแรงกายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่สี่ เป็นปัจจัยเสริมสำคัญของการเสียชีวิตอย่างน้อยหกในสิบรายของจำนวนผู้เสีย ชีวิตทั่วโลกจากโรคไม่ติดต่อ อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน มะเร็งลำใส้และมะเร็งเต้านม
 
I. Min Lee นักพยาธิวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Harvard สมาชิกทีมวิจัยเรื่องนี้ กล่าวว่า การขาดกิจกรรมที่ต้องออกแรงกายเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตรายพอๆกับการสูบบุหรี่ที่ทำให้เสียชีวิตได้
 
I. Min Lee ทำการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการขาดกิจกรรมที่เสริมการเคลื่อนไหวร่างกาย และการออกแรง กับข้อมูลของการเกิดโรคต่างๆใน 122 ประเทศ เธอบอกว่า ตัวเลขที่ได้บอกถึงแค่ปัญหาส่วนหนึ่งเท่านั้น
 
นักวิจัยกล่าวว่าใน การวิเคราะห์ข้อมูล ทีมงานได้ศึกษาดูความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยการขาดการออกแรงทางกาย เธอบอกว่า คนที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ทำให้ออกแรง ไม่นั่งอยู่เฉยๆ มักจะไม่สูบบุหรี่หรือสูบบุหรี่น้อยและยังมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าคนที่อยู่ เฉยๆ ไม่ลุกขึ้นทำกิจกรรมใดๆรอบตัว
 
ด้าน Harold Kohl นักพยาธิวิทยาแห่ง University of Texas สมาชิกอีกคนหนึ่งในทีมวิจัยนี้ กล่าวว่า การขาดการออกแรงกาย กลายเป็นปัญหาที่ขยายตัวไปทั่วโลกและมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้คน จึงควรถือให้เป็นปัญหาสุขภาพระดับโลกและควรทำการรณรงค์ในเรื่องนี้เหมือนกับ การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
 
Harold Kohl นักพยาธิวิทยาในทีมวิจัยกล่าวว่าคนในประเทศรายได้สูงเป็นกลุ่มคนขาดกิจกรรม ออกแรงกายมากที่สุด แต่ประชากรในประเทศกำลังพัฒนาก็เริ่มมีปัญหานี้มากขึ้นเนื่องจากวิถีชีวิต สังคมและลักษณะทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป คนพึ่งพาเครื่องจักรกลและนวัตกรรมสมัยใหม่ต่างๆมากขึ้นในชีวิตประจำวัน
 
Kohl นักพยาธิวิทยาแห่ง University of Texas ชี้ว่าในขณะที่คนทั่วไปต้องมั่นออกแรงทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้นแล้ว ทางการควรออกแบบการขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพและวางผังเมืองให้ปลอดภัย น่าอยู่ ช่วยให้ผู้คนอยากออกจากบ้านไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ไปออกกำลังกายนอกบ้าน ไปพบปะเพื่อนบ้าน หรือออกไปเดินเล่นกันมากขึ้น สามารถเดินไปร้านขายของใกล้ๆบ้านโดยไม่ต้องขับรถไป เขาบอกว่าประเด็นทางสภาวะแวดล้อมรอบตัวเหล่านีั้้ล้วนมีบทบาทสำคัญในการส่ง เสริมให้คนทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกายมากขึ้น
 
I. Min Lee นักพยาธิวิทยาแห่งภาควิชาการแพทย์ มหาวิทยาลัย Harvard เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เธอหวังว่าข้อมูลจากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet นี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวก บทความนี้ยังแนะนำให้คนทั่วไปพยายามออกกำลังกายที่ต้องออกแรงระดับปานกลาง ให้ได้สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงครึ่ง
 
นักวิจัยกล่าวว่าคุณจะออกกำลังกาย แบบใดก็ได้ กิจกรรมที่ทำให้ต้องออกแรงดีต่อร่างกายทั้งนั้น แม้ทำไม่ได้ตามเป้าสองชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ ก็ยังดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย เธอถือว่าออกกำลังกายเล็กน้อยยังดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลยและยิ่งออกกำลังกาย มากขึ้นก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1345541485&grpid=03&catid=03

22 สิงหาคม 2555

Next post > Spouses of heart attack survivors 'suffer too'

< Previous post HTAsiaLink, the HTA network in Asia held its first HTAsiaLink Annual Conference in Thailand

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด