logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

รพ.ราชวิถี คว้ารางวัลยูเอ็น ชู เทคโนโลยีกล้องตรวจหาภาวะเบาหวานเข้าตา ช่วยผู้ป่วยชนบทเข้าถึงการรักษา ย้ำ ผู้ป่วยเบาหวานต้องตรวจตาทุกปี ชี้ มาช้าเสี่ยงตาบอด
       
       วันนี้ (20 ส.ค.) ที่โรงพยาบาลราชวิถี พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเปิดงาน Open House เพื่อเผยแพร่ผลงานเทคโนโลยีวิทยาการก้าวหน้าโครงการป้องกันตาบอดในผู้ป่วย เบาหวาน ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศคุณภาพการให้บริการดีเด่นสาขาการเสริมสร้างการ จัดการความรู้ในภาครัฐ ปี 2555 จากองค์การสหประชาชาติ ว่า โครงการนี้ถือเป็นโครงการที่น่าชื่นชม เนื่องจากเป็นการพัฒนาการให้บริการผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล สามารถเข้าถึงบริการที่ดี ทั้งนี้ ปัญหาใหญ่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานคือการที่เบาหวานเข้าจอประสาทตาและส่งผลให้ ผู้ป่วยตาบอด ดังนั้น เมื่อมีกล้องถ่ายภาพจอประสาทตาระบบดิจิตอล มาช่วยในการให้บริการตรวจจอประสาทตาแก่ผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ชุมชนแต่ละ จังหวัดของผู้ป่วยเอง ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี แทนการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์โดยตรง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเข้าถึงการคัดกรองภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ทั้งนี้ ยังสามารถแยกผู้ป่วยที่เสี่ยงตาบอดออกได้ และสามารถส่งผู้ป่วยให้จักษุแพทย์ได้รักษาอย่างทันท่วงทีต่อไป
       
       ด้าน นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นพ.เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา หัวหน้าโครงการป้องกันตาบอดจากโรคเบาหวาน กล่าวว่า โรคเบาหวานสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และ 2.ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 30 ปี โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 4.5 ล้านคน แต่ในประเทศไทยมีจักษุแพทย์เพียง 1,000 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการตรวจจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก ในเขตชนบทห่างไกล ต้องเดินทางไกลจึงทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรคเบาหวานนานกว่า 10 ปี มีโอกาสที่เบาหวานจะเข้าจอประสาทตาสูง ทั้งนี้ คนที่เป็นเบาหวานควรเข้ารับการตรวจปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการรักษาและหากพบว่า เบาหวานเข้าจอประสาทตา จะได้รักษาได้ทัน โดยสัญญาณเตือนที่บงชี้ว่าเป็นอาจเสี่ยงต่อเบาหวานเข้าตา คือ กลุ่มที่มีการคุมน้ำตาลไม่ดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต และผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวังเรื่องการคุมน้ำตาลให้ดี เนื่องจากหากคุมไม่ดีถ้าเบาหวานเข้าตาก็จะทำให้ตาบอดทันที
       
       นพ.ไพศาล กล่าวต่อว่า วัตถุ ประสงค์การทำในครั้งนี้ก็เพื่อทำให้ผู้ป่วยในต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงการ รักษา ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะในต่างจังหวัดก็จะได้ประโยชน์จากกล้องตรวจหา โรคเบาหวานในตาเป็นอย่างมาก เพราะปัญหาอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานจนเบาหวานเข้าสู่จอประสาทตา คือ จักษุแพทย์มีน้อยและส่วนใหญ่จะอยู่ในเมือง ดังนั้น จากการเพิ่มศักยภาพให้สามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานเข้าจอกระจกตาและช่วย ลดให้คนในแต่ละชุมชนลดความเสี่ยงต่อตาบอดจากโรคเบาหวานได้ด้วยการเขาถึง บริการที่ง่ายขึ้นโดยผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงบริการการตรวจตาทำ ให้จักษุแพทย์มีเวลาในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่จำเป็น ที่มีความเสี่ยงต่อตาบอด ซึ่งขณะนี้ทางโรงพยาบาลราชวิถีกำลังขยายระบบการคัดกรองและการพัฒนาคณะทำงาน ต่อไป

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102392

21 สิงหาคม 2555

Next post > สธ.เตรียมสร้างคนอาเซียนมีสุขภาพ-คุณภาพชีวิตดี

< Previous post สธ.ยกระดับความสะอาด"แท็กซี่"

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด