logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
คณะกรรมการกำกับทิศ โครงการ QoF เลือก 5 ปัญหาสุขภาพ เพื่อนำไปพัฒนาตัวชี้วัด

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 16.00 น. คณะกรรมการกำกับทิศของโครงการงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (Quality and Outcomes Framework – QOF) ร่วมกันหารือเพื่อคัดเลือกปัญหาสุขภาพสำหรับนำไปพัฒนาตัวชี้วัด โดยกรรมการมีมติเลือกปัญหาสุขภาพสำหรับพัฒนาตัวชี้วัด QOF ที่จะประกาศใช้ในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1) โรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด) 2) อนามัยแม่และเด็ก 3) คนไข้ติดเตียง 4) การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล 5) โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ภญ.จันทนา พัฒนเภสัช นำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมเรื่องแนวทางการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพในต่างประเทศ ผลการทบทวนสถานการณ์ปัญหาสุขภาพในประเทศไทย และผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหาร/ผู้กำหนดนโยบาย/นักวิชาการ 2) ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้คณะกรรมการกำกับทิศคัดเลือกปัญหาสุขภาพเพื่อนำไปพัฒนาตัวชี้วัด QOF โดยหลังจากนี้ นักวิจัยจะทำการพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับปัญหาสุขภาพที่ได้รับการคัดเลือก แล้วนำไปทดสอบการใช้งานจริงในสถานพยาบาลระดับต่างๆ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นสำหรับตัวชี้วัดแต่ละตัว จากนั้นจึงจะนำเสนอผลการทดสอบตัวชี้วัดให้ผู้เชี่ยวชาญและคณะกรรมการกำกับทิศอีกครั้งเพื่อคัดเลือกตัวชี้วัด QOF ที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอบอร์ด สปสช. พิจารณาและอนุมัติตัวชี้วัด QOF สำหรับปีงบประมาณ 2560

ที่ประชุมได้อภิปรายเกี่ยวกับผลการศึกษาข้างต้น และแนะนำให้ทีมวิจัยพัฒนาตัวชี้วัด QOF โดยคำนึงถึงบริบทงานบริการปฐมภูมิประเทศไทยที่มีความแตกต่างจากประเทศอื่น จากนั้น ที่ประชุมลงมติเลือกปัญหาสุขภาพสำคัญสำหรับประเทศไทยที่สมควรพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพสำหรับงานบริการปฐมภูมิในเวลานี้จำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1) โรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด) 2) อนามัยแม่และเด็ก 3) คนไข้ติดเตียง 4) การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล 5) โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

31 สิงหาคม 2558

Next post > HITAP ต้อนรับเจ้าหน้าที่ สธ.เวียดนาม ดูงานการใช้ HTA ในระบบบัญชียาหลัก

< Previous post ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมแสดงความเห็นต่อโครงร่างการศึกษาการประเมินความคุ้มค่าฯ และผลกระทบด้านงบประมาณของยา sofosbuvir ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด