logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ปัญหาการนอนไม่หลับไม่ได้เป็นปัญหาที่พบในประเทศพัฒนาเเล้วเท่านั้น แต่กลายเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาด้วย
 
ทีม นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Warwick Medical School ที่เมือง Coventry ในอังกฤษ ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ Dr. Saverio Stranges เป็นหัวหน้าทีมวิจัยนี้ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายของการวิจัยคือทำการประมวลข้อมูลที่มีอยู่แล้วในแปด ประเทศ จากทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย เพื่อกรองหาตัวเลขผู้ป่วยที่รายงานว่าตนเองมีปัญหานอนไม่หลับ และ พยายามตรวจหาปัจจัยอื่นๆที่เป็นตัวเสริมปัญหาการนอนไม่หลับในกลุ่มคนจากทั้ง แปดประเทศ
 
การวิจัยจัดทำในประเทศกาน่า แทนซาเนีย แอฟริกาใต้ อินเดีย บังคลาเทศ เวียดนาม  อินโดนีเซีย และเขตเมืองในประเทศเคนยา การวิจัยประมาณว่ามีประชากรวัยผู้ใหญ่ 150  ล้านคนในแปดประเทศเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญาที่เกี่ยวข้องการกับการนอนหลับ
 
Dr. Stranges หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่ามีหลักฐานทางชีววิทยาที่สนับสนุนข้อมูลที่ว่าการนอน ไม่หลับมีผลกระทบทางลบต่อการทำงานของร่างกายในเรื่องการเจริญอาหาร การทำงานของระบบประสาท การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและเกี่ยวโยงกับการเจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรงหลายโรค
 
นัก วิจัยชี้ว่าปัญหาการนอนหลับอาจสืบเนื่องมาจากการสูบบุหรี่กับนิสัยการรับ ประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนการนอนหลับมากเกินพอดีในกลุ่มผู้สูงอายุกลับมีผลเสียต่อสุขภาพทำให้ร่าง กายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย
 
Dr. Stranges หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า วิถีชีวิตแบบ 24 ชั่วโมงต่อวันส่งผลให้คนนอนไม่หลับในประเทศพัฒนาแล้ว การใช้อินเตอร์เน็ตก็เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้อาการนอนไม่หลับเลว ร้ายลง เกิดปัญหาโรคซึมเศร้าและโรควิตกจริตตามมา
 
ทีมวิจัยพบว่า อาการซึมเศร้าและวิตกจริตในประชากรประเทศกำลังพัฒนาได้กลายเป็นสาเหตุหลัก ของการนอนไม่หลับและพบว่าผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย และชาวบังคลาเทศ ชาวแอฟริกาใต้และชาวเวียดนาม เป็นโรคนอนไม่หลับมากที่สุด ในขณะที่อินเดีย อินโดนีเซีย มีปัญหาคนเป็นโรคนอนไม่หลับจำนวนน้อย
 
Dr. Stranges หัวหน้าทีมวิจัยเตือนว่าโรคนอนไม่หลับจะเพิ่มปัญหาสุขภาพแก่คนในประเทศกำลัง พัฒนา ทำให้ระบบการบริการทางสาธารณสุขต้องแบกภาระเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากปัญหาโรคระบาด อัตราการเสียชีวิตของเด็กและหญิงคลอดลูกค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
 
ผู้ เชี่ยวชาญชี้ว่าการบำบัดรักษาอาการนอนไม่หลับทำได้ยากและมักไม่มีวิธีการ รักษาเดียวที่ได้ผลทั้งหมด เนื่องจากมีสาเหตุต่างกันไป เขาแนะนำว่าแพทย์ควรวิเคราะห์วิถีชีวิตและการนอนหลับของผู้ป่วยแต่ละคนในการ วินิจฉัยปัญหาสุขภาพ และควรแนะให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวันก่อนตัดสินใจเขียนใบ สั่งยาให้ผู้ป่วยรับประทาน

 

 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345380247&grpid=03&catid=03

20 สิงหาคม 2555

Next post > รับมือ!ภาวะปัสสาวะเล็ดราด'สตรีวัยทอง'

< Previous post กลุ่มชายรักชาย ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อเอดส์สูง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด