logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ข่าวสด

ฉบับวันที่: 19 สิงหาคม 2015

แบบประเมินคุณภาพชีวิตช่วยคิดความคุ้มค่าการแพทย์

ภญ.จันทนา พัฒนเภสัช นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เปิดเผยถึงการจัดทำแบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต ฉบับภาษาไทย หรือ EQ-5D-5L ซึ่งเป็นแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และคำนวณความคุ้มค่าทางสาธารณสุขได้ โดยแบบสอบถามดังกล่าว จะถามคำถามสุขภาพ 5 ข้อหรือ 5 มิติ ซึ่งจะเป็นแบบที่สั้น ใช้งานง่าย เช่น คำถามเรื่องการเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง เช่น อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าด้วยตนเอง เป็นต้น กิจกรรมที่ทำประจำ เช่น ทำงาน เรียนหนังสือ เป็นต้น อาการเจ็บปวด และความวิตกกังวล โดยคำถามในแต่ละด้านจะมีคำตอบให้เลือก 5 ระดับเรียงตามความรุนแรง ตั้งแต่ไม่มีปัญหาจนมีปัญหามากที่สุด คะแนนที่ได้จะนำไปคำนวณคะแนนค่าอรรถประโยชน์

ภญ.จันทนากล่าวต่อว่า การคำนวณคะแนนอรรถประโยชน์ คือค่าที่แสดงถึงความพอใจของบุคคลต่อสภาวะสุขภาพของตนเอง มีค่าตั้งแต่ 0-1 โดย 0 หมายถึงเสียชีวิต 1 หมายถึงสุขภาพแข็งแรงที่สุด โดยนำไปคำนวณต่อเป็นค่าทางสถิติ ซึ่งไทยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,207 ราย จาก 12 จังหวัดทั่วประเทศ ในปี 2557 โดยมหาวิทยาลัยมหิดล และ HITAP ภายใต้โครงการวิจัย เครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L เพื่อทดสอบคุณสมบัติการวัดและค่าน้ำหนักอรรถประโยชน์ในประชากรไทย ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วค่าที่ได้ 5 ด้าน เท่ากับ 0.584 คะแนนดังกล่าวนำไปวิเคราะห์ต่อด้านติดตามคุณภาพชีวิตคนไข้หรือประชากร หรือประเมิณความคุ้มค่าทางการแพทย์ ข้อเสนอแนะจากการทดสอบดังกล่าว พบว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

สำหรับการประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพเพื่อติดตามผลการรักษาในสถานพยาบาล งานวิจัยทางคลินิก ความคุ้มค่าทางการแพทย์ ติดตามคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ประชาชน มีการแปลเป็นภาษาไทยและมีแบบคำนวณคะแนน จึงสะท้อนสภาวะสุขภาพได้ ทั้งนี้ มีข้อควรระวังคือ อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วย เช่น โรคทางทันตกรรม โรคทางการมองเห็น ซึ่งอาจต้องใช้แบบสอบถามเฉพาะโรค

18 สิงหาคม 2558

Next post > ‘ผู้ป่วยโรคเลือด’ กับการรักษาด้วยการ ‘ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด’ ในระบบ ‘บัตรทอง’...สิทธิที่เราร่วมกำหนด

< Previous post ไฮแทปหนุนตรวจตาเด็ก พบกว่า2หมื่นใส่แว่นผิด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด