logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานว่า ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ นักวิจัยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวในการสัมมนาภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย เพื่อก้าวใหม่กับการพัฒนาระบบสุขภาพ ว่า จากการสำรวจภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทยจะมีขึ้นทุกๆ 5 ปีโดยทีมวิจัยจาก IHPP ซึ่งปี 2552 เป็นการสำรวจครั้งที่ 3 และจะมีการสำรวจครั้งที่ 4 ในปี 2557
 
 สำหรับการศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เป็นสาเหตุของภาระโรคและการบาดเจ็บทุกๆ 5 ปี โดยปีล่าสุดคือ ปี 2552 ได้สำรวจกลุ่มประชากรทั้งหมด 63 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 430,583 ราย ทั้งชายและหญิง โดยพบว่า 5 อันดับสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับแรก คือ ปัญหาโรคเรื้อรัง ซึ่งมาจากการดื่มสุรา สูบบุหรี่ พบกว่า 50,000 ราย รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ พบประมาณ 35,000 ราย นอกนั้นเป็นโรคเบาหวาน อุบัติเหตุทางถนน และมะเร็ง 
 
 ทพญ.กนิษฐา กล่าวอีกว่า หากแบ่งตามกลุ่มอายุและเพศ จะพบว่าสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเพศชายกลุ่มอายุ 15-29 ปี คือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ถึงร้อยละ 42.4 รองลงมา คือความรุนแรงร้อยละ 10.4 และการติดเชื้อเอชไอวี ส่วนเพศหญิงในกลุ่มอายุเดียวกันพบว่า มีสาเหตุจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย มีติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 23.5 รองลงมาเป็นอุบัติเหตุทางรถยนต์ร้อยละ 23.4 และการฆ่าตัวตายร้อยละ 4.4 ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตของเพศชายกลุ่มอายุ 30-59 ปี พบว่ามากจากอุบัติเหตุรถยนต์มากที่สุด ส่วนเพศหญิงมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ขณะที่กลุ่มเพศชายอายุ 60 ปีขึ้นไปพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุด คือ โรคเรื้อรัง ส่วนเพศหญิงก็เช่นกัน
 
 ทพญ.กนิษฐา กล่าวอีกว่า ยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เป็นสาเหตุของภาระโรคและการบาดเจ็บจนอาจเสียชีวิตนั้น พบว่า ในเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากอันดับ1 คือ การดื่มแอลกอฮอล์ รองลงมา เป็นการสูบบุหรี่ ระดับความดันโลหิตสูง การไม่สวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้จักรยานยนต์ และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ตามลำดับ ส่วนเพศหญิงมีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาระโรคมากที่สุดอันดับแรก คือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ระดับความดันโลหิตสูง ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการบริโภคผักและผลไม้น้อย ตามลำดับ 
 
 “จากผลสำรวจดังกล่าววิเคราะห์ได้ว่า ในกลุ่มเพศชายช่วงวัยรุ่นจะมีความเสี่ยงมากในแง่ของการดื่มสุรา จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุการขับขี่ รวมทั้งความรุนแรง ส่วนเพศหญิงช่วงวัยรุ่นเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งตั้งครรภ์ไม่พร้อม ขณะที่กลุ่มผู้สูงวัยทั้งเพศหญิงและชาย ยังเสี่ยงต่อปัญหาโรคเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจดังกล่าว ขณะนี้ทีมวิจัยอยู่ระหว่างการศึกษาต่อยอดในประเด็นภาระโรคที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น หากส่งเสริมสุขภาพและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ จะทำให้ลดการเสียชีวิต การสูญเสียภาระโรคจำนวนเท่าใด และจะลดการเสียชีวิตจากโรคร้ายกี่เท่า คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จในปี 2556” ทพญ.กนิษฐา กล่าว
 
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME5UQXhPRGt3TXc9PQ==&subcatid=
16 สิงหาคม 2555

Next post > ศาลออสเตรเลียหนุนกม.ห้ามมีโลโก้บนซองบุหรี่

< Previous post สปส.แจงสิทธิผู้ป่วย'ไต'ระยะสุดท้าย 3กองทุนถกบูรณาการ-เข้าถึงบำบัดเท่าเทียมกัน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด