logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: มติชน

ฉบับวันที่: 17 สิงหาคม 2015

ไฮแทปหนุนตรวจตาเด็ก พบกว่า2หมื่นใส่แว่นผิด

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือไฮแทป (HITAP) กล่าวถึงโครงการชัดแจ๋ว: ตรวจตาเด็ก…เพื่ออนาคตไทย ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ว่า เด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะสายตาผิดปกติจะไม่ทราบว่าสายตาตัวเองผิดปกติ เพราะเห็นภาพมัวๆ มาตั้งแต่เกิด จนเมื่อโตขึ้นทำให้มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขจะนำมาสู่ภาวะตาขี้เกียจ (Lazy Eye) และอาจตาบอดได้ เพราะภาวะตาขี้เกียจเกิดขึ้นจากสมองที่รับภาพไม่ชัดมาตั้งแต่เกิด สมองก็รับรู้เช่นนั้นทำให้ไม่เกิดการพัฒนา จึงไม่สามารถปรับให้เป็นปกติได้ หากอาการรุนแรงจากภาพเบลอ ไม่ชัด จะนำไปสู้จอภาพมืดลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้ ไฮแทปจึงทำการศึกษาว่าหากมีการพัฒนาระบบคัดกรองสายตาผิดปกติในเด็กก่อนวัยประถามศึกษา พร้อมจัดหาแว่นตาเพื่อบรรจุลงในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพภ้วนหน้าจะมีความคุ้มค่าหรือไม่ โดยดำเนินโครงการในเด็กอายุ 3-12 ปี จำนวน 5,461 คน ให้ครูประจำชั้นเป็นผู้คัดกรองให้

“การศึกษาพบว่า เด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติจำนวน 6.6% จำเป็นต้องใส่แว่นสายตาจำนวน 4.1% ในจำนวนนี้มีแว่นใส่อยู่ก่อนหน้าการคัดกรองแล้วเพียง 1% แต่แว่นเดิมมีความถูกต้องตามค่าสายตาเด็กเพียงแค่ 0.25% เมื่อเทียบกับจำนวนเด็กช่วงอายุดังกล่าวทั้งประเทศ คาดว่าน่าจะมีเด็กที่มีสายตาผิดปกติ 5.7 แสนคน โดย 3.5 แสนคนจำเป็นต้องใส่แว่น มีเด็กที่ตัดแว่นแล้ว 8 หมื่นคน แต่ใส่แว่นถูกต้องกับค่าสายตาประมาณ 2 หมื่นคน ซึ่งหากดำเนินการโครงการนี้ทั้งประเทศจะแก้ไขสายตาเด็กได้มากกว่า 3 แสนคน” นพ.ยศ กล่าว

ติดตามชมคลิปวีดีโอโครงการชัดแจ๋วได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=nhbq37eSbL4

17 สิงหาคม 2558

Next post > แบบประเมินคุณภาพชีวิตช่วยคิดความคุ้มค่าการแพทย์

< Previous post เด็กไทย3-12ปีสายตาผิดปกติ5.7แสน'ไฮแทป'คาด3.5แสนคนต้องใส่แว่นเร่งเสนอรัฐบรรจุบัตรทอง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด