logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: คม ชัด ลึก

ฉบับวันที่: 17 สิงหาคม 2015

เด็กไทย3-12ปีสายตาผิดปกติ5.7แสน’ไฮแทป’คาด3.5แสนคนต้องใส่แว่นเร่งเสนอรัฐบรรจุบัตรทอง

“ไฮแทป” คาดเด็กไทย 3-12 ปี มีสายตาผิดปกติ 5.7 แสนคน ราว 3.5 แสนคน จำเป็นต้องใส่แว่น ศึกษาพบคัดกรองสายตาเด็กก่อนตัดแว่นให้ฟรี มีความคุ้มค่า เร่งทำข้อเสนอ รมว.สธ.ออกเป็นนโยบายรัฐบาล เชื่อโอกาสสูงบรรจุเป็นสิทธิประโยชน์บัตรทอง

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือไฮแทป (HITAP) นำเสนอโครงการชัดแจ๋ว: ตรวจตาเด็ก…เพื่ออนาคตไทย ว่า เด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะสายตาผิดปกติ คือ สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง จะไม่ทราบว่าสายตาตัวเองผิดปกติ เพราะเห็นภาพมัวๆ เช่นนี้มาตั้วแต่เกิด พ่อแม่ก็ไม่ทราบ จนเมื่อโตขึ้นทำให้มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีปัญหาด้านการเรียน ทำให้ถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อรั้นหรือโง่ ถูกพ่อแม่หรือครูดุด่าบ่อยครั้ง หากไม่ได้รับการแก้ไข จะนำมาสู่ภาวะขี้เกียจ (เลซี่ อาย) และนำมาสู่ภาวะตาบอดในเด็กได้ เมื่อโตขึ้นก็ไม่สามารถรักษาหรือแก้ไขได้ แม้จะใส่แว่นตาก็ไม่มีผลเพราะสมองรับแต่ภาพไม่ชัดมาแต่เกิด ทำให้ไม่เกิดการพัฒนา จึงไม่สามารถปรับให้เป็นปกติ

นพ.ยศ กล่าวอีกว่า ไฮแทปได้ศึกษาว่า หากมีการพัฒนาระบบคัดกรองสายตาผิดปกติในเด็กและจัดหาแว่นสายตาให้เด็กก่อนวัยประถม เพื่อบรรจุลงในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพจะมีความคุ้มค่าหรือไม่ โดยดำเนินโครงการในเด็กอายุ 3-12 ปี จำนวน 5,461 คน และให้ครูประจำชั้น ซึ่งถือว่ามีมากพอเป็นผุ้คัดกรองแทน โดยมีการจัดทำคู่มือและอบรมให้ครูสามารถคัดกรองได้ และพัฒนาอุปกรณ์ในการประเมินสายตาเด็ก จากเดิมใช้ตัวเลขให้อ่าน แต่เด็กอาจยังไม่รู้จัดตัวเลขทำให้บอกผิดได้ จึงเปลี่ยนมาใช้แผนภูมิรูปแทน เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปบ้าน รูปแอปเปิ้ล เป็นต้น หากเด็กมีความผิดปกติจึงส่งตัวต่อมายังโรงพยาบาล เพื่อให้จักษุแพทย์ช่วยตรวจวินิฉัยความผิดปกติ และแก้ไขโดยการตัดแว่นให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเด็กจะต้องมาตรวจวัดสายตาเพื่อเปลี่ยนแว่นทุกปี เพราะค่าสายตาเด็กจะเปลี่ยนรวดเร็ว

การศึกษาพบว่า มีเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสายตาผิดปกติจำนวน 6.6% หรือราว 300 คน จำเป็นต้องใส่แว่นสายตาจำนวน 4.1% ในจำนวนนี้มีแว่นใส่อยู่ก่อนหน้าการคัดกรองแล้วเพียง 1% แต่แว่นเดิมมีความถูกต้องตามค่าสายตาเด็กเพียงแค่ 0.25% เท่านั้น ดังนั้นเมื่อเทียบกับจำนวนเด็กช่วงอายุดังกล่าวทั้งประเทศจึงคาดว่าน่าจะมีเด็กที่มีสายตาผิดปกติ 5.7 แสนคน โดยประมาณ 3.5 แสนคน จำเป็นต้องใส่แว่น มีเด็กที่ตัดแว่นแล้วประมาณ 8 หมื่นคน แต่ใส่แว่นถูกต้องกับค่าสายตาประมาณ 2 หมื่นคนเท่านั้น หากดำเนินการทั้งประเทศได้จะสามารถช่วยเหลือการแก้ไขสายตาเด็กได้มากกว่า 3 แสนคน ซึ่งการประเมินการคัดกรองเช่นนี้ และตัดแว่นให้เด็กโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายพบว่ามีความคุ้มค่าหากดำเนินการ

ผลการศึกษานี้ ซึ่งหากได้รับประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลก็มีโอกาสที่จะได้รับการบรรจุลงในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง” นพ.ยศ กล่าว

ติดตามชมคลิปวีดีโอโครงการชัดแจ๋วได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=nhbq37eSbL4

17 สิงหาคม 2558

Next post > ไฮแทปหนุนตรวจตาเด็ก พบกว่า2หมื่นใส่แว่นผิด

< Previous post HITAPพบเด็กใส่แว่นไม่ตรงค่าสายตา

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด