“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

หนังสือพิมพ์: คม ชัด ลึก
ฉบับวันที่: 14 สิงหาคม 2015
ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ ไฮแท็ป แถลงข่าว “โครงการเมธีวิจัยอาวุโส เชื่อมงานวิจัยสู่นโยบาย” จัดโดยไฮแท็ปและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ว่า ไฮแท็ปได้ประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการให้บริการตรวจยีนเอชแอลเอ บี 1502 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ในกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสันหรือโรคเอสเจเอส และภาวะแพ้ยาที่ก่ออาการต่อผิวหนังและต่อเยื่อเมือกบุอวัยวะภายในต่าง ๆ อย่างรุนแรง (Toxic epidermal necrolysis หรือ TEN) จากยาคาร์บามาเซปีน เนื่องจากพบว่ายีนเอชแอลเอ บี 1502 มีโอกาสพบมากในผู้ป่วยโรคลมชัก และภาวะปวดปลายประสาท
“ผู้ป่วยที่มีอาการผื่นแพ้ในกลุ่มนี้ ทุกข์ทรมารมาก แต่หากหาทางป้องกันด้วยการตรวจยีนได้ก็จะช่วยได้ทางหนึ่ง ซึ่งทีมวิจัยได้เสนอสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถึงโอกาสในการเพิ่มเข้าสู่สิทธิประโยชน์ เบื้องต้นคณะอนุกรรมการสิทธิประโยชน์ของคณะอนุกรรมการ สปสช.พิจารณาว่าควรมีการเพิ่มสิทธิดังกล่าวแต่ต้องเฉพาะผู้ป่วย 2 กลุ่มที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องตรวจ และจะมีการเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ของบอร์ดสปสช.ต่อไป” ดร.นพ.ยศ กล่าว
ภญ.วรัญญา รัตนวิภาพงษ์ นักวิจัยไฮแท็ป กล่าวว่า การตรวจยีนกำลังเป็นที่น่าสนใจในวงการสาธารณสุข เพราะสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดผื่นแพ้ยาของผู้ป่วยแต่ละคน โดยการเกิดผื่นแพ้ยาชนิด SJS/TEN ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จากการตรวจยีเอชแอลเอ บี 1502 พบมากในคนเอเชียและหากคนที่มียีนชนิดนี้ได้กินยาคาบามาเซปีนจะมีโอกาสลดการเกิดผื่นแพ้มากกว่า 55 เท่า ดังนั้น หากตรวจยีนนี้ได้ก็มีโอกาสลดการเกิดผื่นแพ้ ซึ่งในประเทศไต้หวันประกาศให้มีการตรวจยีนชนิดนี้ในชุดสิทธิประโยชน์ทีเดียว ทั้งนี้ จากการประมาณการมีผู้ป่วยใหม่ที่จะได้รับยาคาร์บามาเซปีน 14,183-55,314 คนต่อปี โดยหากคิดเป็นค่าใช้จ่ายก็ตกครั้งละ 1,500 บาท