logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการรณรงค์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ระหว่างวันที่ 12สิงหาคม 2555 – 12กันยายน 2555 ในคลินิกสุขภาพเด็กดีของโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศฟรี ตั้งเป้า 4 แสนคน แจกคู่มือกิน กอด เล่น เล่าให้พ่อแม่ฟรี 4 แสนเล่ม เพื่อกระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้สมวัย พัฒนาการดีพร้อมก้าวสู่โรงเรียน เผยผลสำรวจล่าสุดพบเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 4 ด้าน เพียงร้อยละ 70 และพบเด็กไทยมีพัฒนาการช้ามากถึง 1 ล้าน 2 แสนกว่าราย 

          วันนี้ (10 สิงหาคม 2555) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย และนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตร่วมกันแถลงข่าว โครงการรณรงค์การส่งเสริมพัฒนาการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ว่า เนื่องในมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในวันที่ 12 สิงหาคม 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการรณรงค์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยเพื่อเฉลิม พระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี และน้อมรับคำขวัญวันแม่พระราชทานประจำปี 2555 ว่ามือของแม่นั้นคือมือช่างปั้นขึ้นรูปอันอ่อนลออจนหล่อเหลา อยากให้เป็นงานดีที่งามเงา อยู่ที่คอยขัดเกลา แต่เบามือ”และสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2555-12 กันยายน 2555 

 ตาม โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ซึ่งเป็นวัยทองของพัฒนาการเด็กทั้งหมด จำนวน 4 แสนคนทั่วประเทศ หรือร้อยละ 50 ของเด็กที่เกิดในปี 2553 โดยดำเนินการในคลินิกสุขภาพเด็กดี ของโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ฟรี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดพิมพ์หนังสือกิน กอด เล่น เล่า จำนวน 400,000 เล่ม เพื่อแจกให้แม่ นำไปใช้เป็นคู่มือส่งเสริมพัฒนาการของ ลูก ซึ่งจะประกอบด้วย โภชนาการอาหารของเด็ก การกอดลูกสร้างความรักความผูกพัน ความอบอุ่นให้เด็ก การเล่น/ของเล่นของเด็กตามวัย และการเล่านิทานให้เด็กฟัง หากพบว่าเด็กรายใดมีพัฒนาการไม่สมวัย จะแนะนำเทคนิควิธีการผู้ปกครองช่วยกันกระตุ้น ส่งเสริม และติดตามผลต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กเข้าสู่การเรียนรู้ใน โรงเรียน ป้องกันปัญหาเด็กไอคิวหรือสติปัญญาต่ำ รายใดที่พัฒนาการบกพร่องรุนแรง จะให้การดูแลบำบัดฟื้นฟูเป็นการเฉพาะและทันท่วงที จะทำให้ปัญหาเด็กไทยมี พัฒนาล่าช้าหรือมีสติปัญญาต่ำลดลง

นายวิทยา กล่าวว่า ผลสำรวจของกรมอนามัยล่าสุดในปี 2553ประเทศไทยพบเด็กบกพร่องทางพัฒนาการร้อยละ 1-2 ของประชากรทั้งประเทศหรือ มีประมาณ 1 ล้าน 2 แสนคน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 70 หรือประมาณ 3 ล้านคน จากจำนวนเด็กวัยนี้ที่มีประมาณ 4 ล้านคน โดยมีเด็กเพียงร้อยละ 20 ที่ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี และพบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 5.23 เท่านั้น กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนแก้ไขโดยการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ แผนปฏิบัติการด้านเด็กปฐมวัยตามนโยบายรัฐบาล พ.ศ.2555-2559 เร่งรัดให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการส่ง เสริมพัฒนาการอย่างรอบด้านอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง เพื่อเด็กทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยทั้งด้านร่างกาย และสติปัญญา โดยมีนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดคลินิกสุขภาพเด็กดีดูแลเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ปี โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดแล้วขณะเดียวกันมีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่ง พัฒนาคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ รณรงค์ให้หญิงฝากครรภ์อย่างน้อย 4 ครั้งก่อนคลอด  

ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว ว่า พัฒนาการเด็กมี 4 ด้าน ได้แก่ สติปัญญา การเคลื่อนไหว การสื่อสาร และทักษะทางสังคม เด็กที่มีพัฒนาการดังกล่าวล่าช้าในระยะหน้าต่างทองของการพัฒนาคืออายุต่ำ กว่า 3 ปี จะส่งผลกระทบต่อระดับเชาวน์ปัญญา การปรับตัว อาจจะมีหรือไม่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือ จิตร่วมด้วยโดยเฉพาะเด็กอายุ 5 ปีแรกซึ่งจะมีพัฒนาการทางด้านสมองมากที่สุด หากมีพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมกับวัย  เช่น อ่อนแอ รูปร่างแคระแกร็น ศีรษะค่อนข้างเล็ก หรือโต ประวัติการเจริญเติบโตล่าช้า คือ มีการคว่ำ คลาน นั่ง ยืน เดิน ช้ากว่าเด็กปกติ  จะมีโอกาสเกิดไอคิวต่ำมากและ ส่งผลให้เด็ก มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้แก่ 1.กล้ามเนื้อการเคลื่อนไหวทำงานไม่ประสานกันระหว่างมือกับสายตา 2.ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี 3.พูดไม่ชัด ความรู้ทางภาษาจำกัด  และ4.มักประสบความล้มเหลวในการเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เด็กออกนอกระบบการศึกษา
 
 
http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=49057
10 สิงหาคม 2555

Next post > อย. เตือน ขายหรือครอบครองวัตถุออกฤทธิ์ฯ ในร้านขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษสถานหนัก

< Previous post เกลือบริโภคเค็มแต่ไอโอดีนต่ำ สุ่มตรวจแผงค้าไม่ผ่านเกณฑ์อื้อ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด