logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม นางจิราภา อุณหเลขกะ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง “สถานการณ์ไอโอดีนในเกลือบริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี” ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 20 ว่า จากการศึกษาปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคจากแหล่งจำหน่ายและผลิตเกลือที่สำคัญ ของประเทศ ด้วยการสุ่มเกลือสินเธาว์และเกลือสมุทรที่มีและไม่มีฉลากแจ้งเสริมไอโอดีน จากร้านค้าริมถนนพระราม 2 จำนวน 94 ร้าน จาก 148 ร้าน จำนวน 126 ตัวอย่าง และจากร้านค้าในตลาดที่มีโครงสร้างถาวรใน จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี จำนวน 11 ตัวอย่าง ที่มีเครื่องหมายการค้าไม่ซ้ำกัน รวม 137 ตัวอย่าง ดำเนินการเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2554 แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนด้วยวิธีการไตเตรท ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน พบว่าเป็นเกลือป่นที่ระบุว่าเสริมไอโอดีน จำนวน 27 ตัวอย่าง และเกลือไม่เสริมไอโอดีน จำนวน 110 ตัวอย่าง

นางจิราภากล่าวว่า ในส่วนของตัวอย่างที่เก็บจากร้านค้าในตลาดที่มีโครงสร้างถาวรใน 3 จังหวัด จำนวน 11 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของ สธ. ที่กำหนดให้มีปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคไม่น้อยกว่า 20 และไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./กก.) เพียงร้อยละ 27.3 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานถึงร้อยละ 72.7 สำหรับตัวอย่างจากตลาดที่มีโครงสร้างและร้านค้าแผงลอยริมถนนที่มีฉลากแจ้ง ว่าเสริมไอโอดีน จำนวน 27 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียงร้อยละ 26 ที่เหลือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และเกลือสมุทรที่ไม่เสริมไอโอดีนทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

“เกลือ บริโภคที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีทั้งที่มีปริมาณไอโอดีนเกินและต่ำกว่าค่า มาตรฐาน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะค่ามาตรฐานของปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคเดิมกำหนดว่า ไม่น้อยกว่า 30 มก./กก. ที่ผ่านมาผู้ผลิตจำนวนมากจึงเติมไอโอดีนลงไปในปริมาณที่มากไว้ก่อน ซึ่งอาจจะเติมถึง 40 หรือ 50 มก./กก. ซึ่งหากผู้บริโภคได้รับไอโอดีนในปริมาณที่น้อยจะไม่เกิดประโยชน์กับร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายแทน ดังนั้น ผู้ผลิตเกลือบริโภคควรใช้ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคก่อนที่จะวาง จำหน่ายเกลือบริโภค เพื่อให้ทราบปริมาณไอโอดีน โดยปัจจุบันมี 3 หน่วยงานที่สามารถผลิตชุดทดสอบได้ คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย และมหาวิทยาลัยมหิดล” นางจิราภากล่าว และว่า

ทั้งเกลือสมุทรและ เกลือสินเธาว์มีปริมาณไอโอดีนค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว ในเกลือบริโภคจึงต้องมีการกำหนดให้มีการเติมไอโอดีนเพิ่ม ซึ่งเกลือบริโภคส่วนใหญ่นิยมนำเกลือสินเธาว์มาเพิ่มไอโอดีน เพราะเกลือสมุทรผลึกใหญ่นำมาทำเป็นเกลือบริโภคยาก ส่วนเกลือที่จำหน่ายเป็นถุงใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นเกลือที่นำไปดองผักไม่จำเป็นต้องเติมไอโอดีน

ที่มานสพ.มติชน

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1344498522&grpid=no&catid=no

 

 

10 สิงหาคม 2555

Next post > สธ.รณรงค์คัดกรองพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ทั่วไทย 4 แสนคน เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี

< Previous post เผยคนไทยเกือบ 43 ล้านคน เสี่ยงป่วยสูง เหตุไม่ออกกำลังกาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด