logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เร่งบำบัดผู้เสพยา อายุต่ำสุดแค่ 9 ขวบ โดยเสพยาบ้ามากสุด พบหลงผิดใช้ยาแก้ปวด ผสมแก้ไอ น้ำอัดลม ชี้ อันตรายถึงตาย
       
       นต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเลขาคณะทำงานป้องกันปราบปรามฟื้นฟูและเยียวยาด้านยาเสพติด กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายในการบำบัด รักษาผู้เสพ และผู้ติดยาเสพติด 400,000 ราย โดยตั้งแต่ วันที่ 1 ต.ค.-30 มิ.ย.2555 พบว่า ผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบสมัครใจ 249,397 คน เข้ารับการบำบัดแบบบังคับรักษา 112,124 คน และเข้ารับการบำบัด เพราะต้องโทษ 11,465 คน รวมทั้งสิ้น 372,986 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 93.25 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ การบำบัดรักษาแบบสมัครใจ ได้ให้ผู้เสพ เข้ารับการบำบัดในค่ายพลังแผ่นดินและจิตสังคมบำบัดในโรงเรียน ซึ่งมีในชุมชนทั่วประเทศ ส่วนผู้ติดยาเสพติด เข้ารับการบำบัดในสถานบำบัดของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ

 “ผู้ที่เข้ารับการบำบัด พบว่า เป็นผู้ใช้ยาแอมเฟตามีน หรือยาบ้า ร้อยละ 70 ใช้กัญชา ร้อยละ 20 นอกจากนั้น เป็นพวกสารอื่นที่ไม่ใช่ยาเสพติด และพบว่า การเสพยาไอซ์ ก็มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น โดยที่น่าเป็นห่วง คือ อายุต่ำที่สุดที่เข้ารับการบำบัดอายุเพียง 9 ปี และผู้หญิงมีสัดส่วนการเข้ารับบำบัดมากขึ้นจากเดิมที่พบประมาณร้อยละ 5 เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ซึ่งการที่มีค่ายพลังแผ่นดินและการดูแลบำบัดใน ชุมชน ซึ่งจะมีการเข้าค่าย 9 วัน และติดตามอีก 1 ปี ทำให้ช่วยลดการกลับมาเสพซ้ำได้” นต.นพ.บุญเรือง กล่าว
       
       นต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ใน กลุ่มของผู้เสพสารอื่นที่ไม่ใช้ยาเสพติดตามที่กฎหมายกำหนด พบว่า มีการใช้ยาหลายๆ ชนิดที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาควบคุมพิเศษ คล้ายลักษณะของ 4X100 ซึ่งเป็นความเชื่อผิดๆ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น การกินยาแก้ปวดชนิดอย่างแรง ผสมกับยาแก้ไอ และ น้ำอัดลม ซึ่งฤทธิ์ของการกินผสมกันกลุ่มผู้เสพ เชื่อว่า จะทำให้เคลิ้มๆ เบาๆ เหมือนการเสพยา แต่ความจริงแล้ว การกินยากลุ่มนี้จะเกิดอันตรายได้ โดยทำให้ความดันโลหิตสูง การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ยังมีฤทธิ์กดสมองทำให้ซึม หากมากเกินไปอาจกดสมองส่วนทางเดินหายใจ และทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าจะทำให้เกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน และเกิดโรคซึมเศร้าได้ ทั้งนี้ นโยบายการควบคุมและบำบัดยาเสพติด ในปีงบประมาณถัดไปจะเน้นไม่ให้ผู้เสพกลับมาติดซ้ำและเร่งบำบัดผู้เสพรายใหม่

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000097574

9 สิงหาคม 2555

Next post > ผุดคลินิกวัยรุ่นแก้ท้องก่อนวัยอันควรหลังปีเดียวยอดท้องพุ่งกว่า 1.3 แสนราย

< Previous post Achillion hepatitis C drug shows promise in mid-stage study

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด