logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
การประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นของโครงการภายใต้คณะอนุกรรมการพิจารณาบัญชียาหลักแห่งชาติเรื่อง “การประเมินต้นทุน-อรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งไตชนิด clear cell renal cell carcinoma ระยะแพร่กระจาย

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ ห้องประชุม HITAP มีการนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นแก่ 2 โครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แก่ โครงร่างงานวิจัยเรื่อง “การประเมินต้นทุน-อรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งไตชนิด clear cell renal cell carcinoma ระยะแพร่กระจาย” และ “การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านงบประมาณของการรักษาผู้ป่วย Gastrointestinal stromal tumor” โดยการประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองทุนยา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ เป็นต้น

โดยสรุป จากการประชุมในครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อคิดเห็นว่า การรักษาผู้ป่วยมะเร็งไตชนิด clear cell renal cell carcinoma ระยะแพร่กระจายนั้น หากสามารถลดราคายาลงมาได้ ทางเลือกในการรักษาด้วย sunitinib เป็น first-line therapy ตามด้วย everolimus เป็น second-line therapy มีความคุ้มค่านั้นสอดคล้องกับในทางปฏิบัติ แต่สำหรับทางเลือกในการรักษาด้วย IFN-alpha เป็น first-line therapy เพียงอย่างเดียวนั้น แม้ต่อรองราคายาลงมาได้แล้วจะมีความคุ้มค่า ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่แนะนำให้ใช้ในทางปฏิบัติเนื่องจาก IFN-alpha มีอาการไม่พึงประสงค์จากยาค่อนข้างมาก และประสิทธิภาพในการรักษาที่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้งการบริหารยาที่ต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนังอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ดังนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย ซึ่งนักวิจัยจะบันทึกข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญประเด็นนี้ไว้ในข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้รับทราบต่อไป

7 สิงหาคม 2555

Next post > การประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินภาวะโภชนาการด้วยแบบคัดกรองเพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง”

< Previous post การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข (EE-Training) ครั้งที่ 8

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด