logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

2 นักวิจัยการแพทย์ คว้ารางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” จากการค้นพบสามารถสร้างเซลล์สมองให้ฟื้นคืนชีพได้

คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ มีมติเป็นเอกฉันท์มอบรับรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ให้แก่ 2 นักวิจัยการแพทย์  ประกอบด้วย นางปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการวิจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่มีผลต่อการฟื้นฟูเซลล์สมอง

โดยพบว่าสามารถสร้างเซลล์สมองให้ฟื้นคืนชีพได้ พร้อมสรรพคุณรักษาโรคทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อมที่พบในผู้สูงอายุและผู้ติดยาเสพติด ซึ่งนำไปสู่ข้อมูลในการพัฒนายาเพื่อรักษาโรคทางระบบประสาท และ นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ค้นคว้าวิจัยภาวะการเสียชีวิตจากหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง เพื่อพัฒนาวิธีการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ไปสู่การรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยเล็งเห็นว่า โรคหัวใจถือเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุข

นอกจากนี้ ยังได้มอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่  เป็นการให้กำลังใจนักวิจัยรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 35 ปี โดย ผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2555 มี 3 ท่าน คือ นาย สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีจีโนม (Genome) หาลำดับเบสพืชเศรษฐกิจของไทย เพื่อเสริมจุดเด่นและสกัดจุดด้อยทางพันธุกรรม ใช้เป็นฐานข้อมูลให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชใช้เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม ที่สำคัญเป็นการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศไทยต่อไป
        
นาย สัมฤทธิ์ วัชรสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีงานวิจัยพัฒนากระบวนการทางเคมีอินทรีย์ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมด้านต่างๆ อาทิ การสังเคราะห์ยารักษาโรค และการสร้างเซ็นเซอร์โมเลกุลเพื่อนำไปตรวจจับสารก่อมลพิษ รวมทั้งการพัฒนากระบวนสังเคราะห์สารอินทรีย์พื้นฐานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
         
และ นาย วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วิจัยการนำแสงซินโครตรอนมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า ซึ่งแสงซินโครตรอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เนื่องจากเป็นแสงที่มีความเข้มสูงได้เป็นหมื่นเท่าถ้าเทียบกับดวงอาทิตย์ มีประโยชน์อย่างมากต่องานวิจัยทั้งเรื่องการดูโครงสร้างทางอะตอมและ คุณลักษณะ ช่วยแยกแยะความแตกต่างและประสิทธิภาพชิ้นงาน ซึ่งนอกจากแสงซินโครตรอนจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยด้านอื่นๆ เช่น การเกษตร การแพทย์ งานด้านสิ่งแวดล้อม งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เภสัชวิทยา และโบราณคดี

ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าว  จะใช้วิธีการเสนอชื่อผู้ที่มีความเหมาะสม  โดยเกณฑ์ที่คณะกรรมการใช้พิจารณาคือ ต้องเป็นผู้ที่มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติจำนวนมาก และผลงานวิชาการดังกล่าวมีผู้อ้างอิงถึงเป็นจำนวนมาก

 

http://bit.ly/Omeanf

6 สิงหาคม 2555

Next post > คลอดแล้ว! กรอบอัตรากำลังหมอ-พยาบาล ต้องการกว่า 7 หมื่นอัตรา

< Previous post สธ.เร่งแก้ กม.บริจาคดวงตาช่วยเหลือผู้มีปัญหาพิการ-ตาบอด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด