logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 พบกลุ่มตะวันออกกลางเข้าใช้บริการ ทางการแพทย์ในไทยเพิ่มขึ้น สบส.เล็งขยายเวลาให้อยู่เมืองไทยเพิ่มเป็น 90 วัน เพื่อรองรับการเป็นเมดิคัลฮับ พร้อมร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเสนอ ครม.พิจารณา
       
       นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า บริการทางการแพทย์เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาเพื่อรองรับการ เป็นศูนย์กลางการแพทย์ (เมดิคัลฮับ) โดยสบ ส.ได้เสนอให้มีการขยายเวลาพำนักในประเทศไทยจาก 30 วัน เป็น 90 วัน กรณีที่เดินทางเข้ามาเพื่อรับการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัฐกาตาร์ รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน และรัฐบาห์เรน เนื่องจากประเทศเหล่านี้ให้ความนิยมในการเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลใน ประเทศไทย พร้อมครอบครัวจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และอยู่ในประเทศไทยต่อแบบระยะยาว สามารถสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจหลัก และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญ ยังไม่ปรากฏชัดในฐานข้อมูลอาชญากรรม หรือการก่อการร้ายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
       
       “เบื้องต้นการดำเนินการนี้จะครอบคลุมผู้ป่วย บุคคลในครอบครัว และผู้ติดตามรวมไม่เกิน 3-5 คน เป็นแบบมีเงื่อนไขเฉพาะสำหรับการเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลเท่านั้น โดยมีเวลาพำนักในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และสามารถขยายระยะเวลาต่อเนื่องได้รวมแล้วไม่เกิน 1 ปี ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่าตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้ผู้ป่วยและญาติสามารถ ขยายเวลาพำนักในไทยในกรณีรับการรักษาพยาบาลได้ตามความเหมาะสมอยู่แล้ว” อธิบดี สบส. กล่าว
       
       นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่องการขยายเวลาพำนักในไทยรวม 90 วัน สำหรับกรณีเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาล เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบูรณาการในภาพรวมทั้งระบบ โดย สธ.จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขประกอบการพิจารณาแนวทางดังกล่าว ทั้งการจัดทำประกาศบัญชีประเภทของบริการรักษาพยาบาล การจัดทำหลักเกณฑ์ประเภทของผู้ป่วย บุคคลในครอบครัวและผู้ติดตาม การจัดทำประเภทของเอกสารทางการแพทย์เพื่อใช้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้า เมือง และการจัดทำประกาศรายชื่อสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะเข้าร่วม ดำเนินงาน เป็นต้น
       
       สำหรับสถิติการเดินทาง เข้า-ออกประเทศไทยของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2554 พบว่า คนสัญชาติรัฐบาห์เรน เดินทางเข้าทั้งหมด 22,873 ราย รัฐคูเวต 59,557 ราย รัฐโอมาน 57,571 ราย รัฐกาตาร์ 20,280 ราย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 109,362 ราย ส่วนจำนวนผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางที่เข้ามารักษาพยาบาลในไทยเพิ่มขึ้นจาก 20,004 รายในปี 2545 เป็น 169,091 รายในปี 2550 นอกจากนี้ จากการประมาณการของกรมส่งเสริมการส่งออกและสบส.เกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยต่าง ชาติและประมาณการรายได้จากบริการรักษาพยาบาล พบว่า จำนวนผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 1,373,807 ราย ในปี2550 เป็น 2,240,000 รายในปี 2554 ประมาณการรายได้ปี 2550 จำนวน 41,000 ล้านบาท และปี 2554 จำนวน 97,874 ล้านบาท สำหรับในปี 2555 ประมาณการว่าจะมีผู้ป่วยต่างชาติเข้ามารักษาพยาบาลในไทยราว 2,530,000 ราย ประมาณการรายได้ 121,658 ล้านบาท

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000093141

30 กรกฎาคม 2555

Next post > จักษุแพทย์ ชี้ แท็บเล็ต มือถือทำเด็กไทยเสี่ยงป่วย โรค “คอมพิวเตอร์ วิชัน ซินโดรม”

< Previous post คสช.เห็นชอบปรับเกณฑ์เอชไอเอ รับประสานแก้ปัญหาโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด