logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

คกก.สุขภาพแห่งชาติฯ คาดปรับเอชไอเอครอบคลุมผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ภายใน 6 ด. เอชไอเอชุมชนเขาหินซ้อนระบุโรงไฟฟ้าถ่านหินจะก่อฝนกรด-ปนเปื้อนปรอท กระทบเกษตร-ห่วงโซ่อาหาร

วันที่ 20 ก.ค.55 ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ  มีการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)โดยมีนายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม โดย น.พ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติช(สช.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า คสช.ให้ความเห็นชอบต่อการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ(เอชไอเอ) ซึ่งตามระเบียบจะต้องมีการปรับปรุงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และเหมาะสมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามเป็นการเห็นชอบในกรอบเบื้องต้น ซึ่งหลังจากนี้จะต้องดำเนินการยกร่างฉบับสมบูรณ์และต้องมีกระบวนการการรับ ฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนให้มากที่สุด คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

“เอชไอเป็นเครื่องมือหลักในการประเมินผลกระทบสุขภาพตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 เป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพชุมชน ปกป้องพื้นที่ วิถีชีวิต สุขภาวะ  ซึ่งในหลักเกณฑ์เอชไอเอมี 4  กรณี 1.โครงการหรือกิจกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ ตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2.กรณีการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านการวางแผนพัฒนา 3.กรณีที่บุคคลหรือคณะบุคคลร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 11 พ.ร.บ.สุขภาพฯ ให้มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ 4.กรณีการทำเอชไอเอเพื่อกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม เช่น เอชไอเอชุมชน”

ด้าน น.พ.วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ กล่าวว่าการทำเอชไอเอที่ผ่านมามักพบข้อจำกัดและปัญหาทั้ง 4 กรณี แม้จะใช้กรอบแนวคิดเดียวกัน แต่การให้อำนาจและการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนยังมีความแตกต่างกันทั้งนี้จาก การติดตามและแลกเปลี่ยนรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง ในหลักการ แล้วเห็นว่าควรมีการปรับคำนิยามโดยไม่ควรมองแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ควรมองให้ครอบคลุมถึงผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตด้วย รวมทั้งควรมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดกระบวนการทำเอชไอเอด้วยความสมัครใจ พัฒนาให้แทรกอยู่ในการวางแผนและโครงการพัฒนาทุกระดับ รวมถึงต้องมีการปรับวิธีการดำเนินงานให้มุ่งผลลัพธ์มากกว่ากิจกรรมที่ต้อง ดำเนินการ

นพ.วิพุธ กล่าวเพิ่มเติมว่าในส่วนของการคัดกรองโครงการจะต้องหาแนวทางให้ประชาชนเข้า ถึงสิทธิอย่างกว้างขวาง หรือหาแนวทางสนับสนุนงบประมาณให้ชัดเจน เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public scoping) ซึ่งที่ผ่านมากลายเป็นเวทีขัดแย้ง จึงต้องปรับปรุงให้เป็นการกำหนดขอบเขตและประเด็นสำคัญที่ควรทำการประเมินที่ มาจากสาธารณะอย่างแท้จริงเ พื่อคาดการณ์ว่าโครงการหรือนโยบายต่างๆจะเกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและลบหรือจะ สร้างความเหลื่อมล้ำหรือไม่อย่างไร

นอกจากนี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ยังให้ความเห็นชอบต่อรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยชุมชน(เอชไอเอ ชุมชน) กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 600 เมกะวัตต์ ต.เขาหินซ้อน  จ.ฉะเชิงเทรา และให้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สย.) คณะกรรมการองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ    

โดยเอชไอเอชุมชน ระบุว่าพื้นที่ ต.เขาหินซ้อน ปัจจุบันมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่ตั้ง อยู่ในลุ่มน้ำคลองท่าลาด ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาสำคัญของลุ่มน้ำบางปะกง และเป็นพื้นที่ผลิตอาหารที่มีศักยภาพในการเลี้ยงคนทั้งในและต่างประเทศ  เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ส่งขายสหภาพ ยุโรป เป็นคลังสำรองพันธุกรรมอาหาร และช่วยเหลือชุมชนอื่นในยามวิกฤติ เช่น แบ่งข้าว ปลา อาหาร และเมล็ดพันธุ์ให้กับพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย การ ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินอาจทำให้เกิดฝนกรดทำความเสียหายให้ภาคการเกษตร เสี่ยงต่อการปนเปื้อนปรอทและโลหะหนักในห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งก่อให้เกิดความขัดแย้งในการแย่งชิงน้ำอีกด้วย

เอชไอเอชุมชนดังกล่าว มีข้อเสนอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองท่าลาดควรปรับข้อกำหนดผังเมืองไม่ให้มีอนุญาต โครงการหรือกิจการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อพื้นที่ผลิตอาหารและความมั่นคงด้านอาหาร ควรมีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพื้นที่ผลิตอาหารและผลักดันให้มีการประกาศเขต “พื้นที่คุ้มครองแหล่งอาหาร”  รวมทั้งให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นธรรมยั่งยืน โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจะประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งส่วนราชการ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ และชุมชนเพื่อจัดกลไกในการแก้ไขปัญหาผลกระทบเดิมที่มีอยู่แล้ว และวางกรอบการพัฒนาอนาคตของลุ่มน้ำคลองท่าลาดให้สอดคล้องกับศักยภาพของ พื้นที่ต่อไป.

 

http://bit.ly/Or6h09

27 กรกฎาคม 2555

Next post > สบส.เล็งขยายเวลาต่างชาติเข้ารักษาตัวในไทยนาน 90 วัน

< Previous post Flu vaccines for all children

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด