logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อบรมและทบทวนความรู้เกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อโรคมือเท้าปากด้วยวิธีพีซีอา ร์ ให้กับเจ้าหน้าที่ ขณะที่หลายพื้นที่ยังคงมีการเฝ้าระวังเด็กเล็กเพื่อป้องกันโรคมือเท้า ปากอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดที่จังหวัดยโสธร มีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทำความสะอาด หลังพบเด็กเล็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปากแล้ว 175 คน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อบรมบุคคลากรที่รับผิดชอบการตรวจวินิจฉัยโรคมือเท้าปากในศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโรคมือเท้าปาก หรือ วิธีพีซีอาร์ และเพื่อจัดตั้งเครือข่ายการตรวจในส่วนภูมิภาค การส่งต่อตัวอย่างที่เป็นระบบเดียวกัน เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคและการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

นพ.นิพน โพธิพัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บอกว่า การตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคมือเท้าปากในห้องปฏิบัติการ จะได้ผลรวดเร็วแม่นยำภายใน 6-8 ชั่วโมง จากเดิมที่ต้องใช้วิธีการเพาะเชื้อนานกว่า 1 เดือน โดยวิธีพีซีอาร์จะให้ผลที่ระบุได้ว่าพบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ค็อกซากี่ เอ16 ในผู้ป่วยหรือไม่ เพราะเชื้อทั้งสองสายพันธ์จะทำให้อาการรุนแรง สามารถยืนยันผลและเป็นประโยชน์ต่อการรักษา

ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธีพีซีอาร์ จะดำเนินการตามคำวินิจฉัยของแพทย์ที่พบอาการต้องสงสัย ไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยทุกรายต้องส่งตัวอย่างมาตรวจ เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้

สำหรับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 22 ก.ค. ปี 2555 ห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับตัวอย่างการส่งตรวจตัวอย่างโรคมือเท้าปาก จำนวน 372 กรณี 525 ตัวอย่าง ซึ่งพบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จำนวน 33 ตัวอย่าง และเชื้อค็อกซากี่ เอ 16 จำนวน 24 ตัวอย่าง และอยู่ระหว่างการดำเนินการ 42 ตัวอย่าง ขณะที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่ง สามารถรองรับการตรวจได้วันละ 40 ตัวอย่าง หรือ ทั่วประเทศสามารถตรวจได้ 600 ตัวอย่างต่อวัน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลอีก 25แห่ง ที่สามารถรองรับการตรวจวินิจฉัยได้เช่นกัน

ครูและเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในอ.เมือง จ.ยโสธร ได้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสิ่งของเครื่องใช้ ภายในศูนย์ฯ โดยเฉพาะของเล่นเด็ก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมือเท้าปาก ขณะที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร สั่งการให้สาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ลงพื้นที่ให้คำแนะนำครู นักเรียน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนทุกแห่ง เพื่อคัดกรองเด็กและการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปากอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ แล้ว 175 คน

ส่วนที่ จ.บุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน อ.บ้านกรวด ซึ่งเป็นพื้นที่ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตรวจคัดกรองเด็กชาวกัมพูชาที่เข้ามาขอรับบริการรักษาโรคในไทย ที่อาจติดโรคมือเท้าปาก อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด หลังจากพบเด็กป่วยโรคมือเท้าปาก แล้ว 236 คน

เช่นเดียวกับที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านหลายคนทยอยนำบุตรหลาน รวมทั้งเด็กแรกเกิด นำมาตรวจร่างกาย เพื่อป้องกันโรคมือเท้าปาก ที่โรงพยาบาลกับนเป็นจำนวนมาก หลังจากมีการระบาดหนักในพื้นที่ทางภาคกลาง และ กรุงเทพมหานคร แต่เบื้องต้นจากการตรวจยังไม่พบเด็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปากแต่อย่างใด

 

http://bit.ly/N6XNsS

27 กรกฎาคม 2555

Next post > U.S. health advisers back two new eye treatments

< Previous post พบไข้เลือดออกป่วยตายสูงกว่ามือเท้าปาก สธ.แนะกำจัดน้ำขัง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด