logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เขมรแห่ซื้อเครื่องดื่มชูกำลังนำมา ผสมน้ำผึ้งดื่ม เชื่อ ป้องกันโรคมือเท้าปากได้ อย.รีบเตือนคนไทย อย่าเชื่อข่าวลือ ย้ำจัดเป็นอาหารไม่ใช่ยา จึงไม่มีผลในการรักษาโรคใดๆ แต่อาจเสี่ยงเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

 ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับชาวกัมพูชาแห่ซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง หลังมีข่าวลือว่า เมื่อนำมาผสมกับน้ำผึ้งแล้ว จะช่วยป้องกันเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 หรือโรคมือเท้าปากได้นั้น อย.ขอเรียนว่า เครื่องดื่มชูกำลัง หรือชื่อเรียกที่ถูกต้อง คือ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีนนั้น จัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 214) พ.ศ.2543, (ฉบับที่ 230) พ.ศ.2544 และ (ฉบับที่ 290) พ.ศ. 2548 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท ต้องมีคุณภาพ หรือมาตรฐาน ตลอดจนการแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่อง ฉลาก โดยต้องระบุข้อความ “ห้าม ดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน” ด้วยตัวอักษรสีแดงบนพื้นขาว มองเห็นได้ชัดเจน ดังนั้น ขอให้ผู้บริโภคตระหนักไว้ว่า เครื่องดื่ม จัดเป็น อาหาร ไม่ใช่ ยา จึงไม่มีผลในการป้องกัน หรือรักษาโรคใดๆ ทั้งสิ้น
       
       ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า อย.ได้ประสาน งานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกจังหวัด โดยเฉพาะเขตพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย ให้ดำเนินการเฝ้าระวังการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริงของเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน รวมทั้งดำเนินการตรวจสอบการโฆษณาเชิงรุกทางสื่อต่างๆ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อข่าวลือดังกล่าวเด็ดขาด หากไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิง เพราะนอกจากจะเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกวิธีแล้ว อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวมีส่วนผสมของกาเฟอีน ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี หากรับประทานเข้าไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
       
       ภญ.ศรีนวล กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงหลอกลวงผู้บริโภค เช่น อ้างสรรพคุณในการรักษาโรค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย.1556 เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000092129

27 กรกฎาคม 2555

Next post > พบไข้เลือดออกป่วยตายสูงกว่ามือเท้าปาก สธ.แนะกำจัดน้ำขัง

< Previous post Medicaid expansion in U.S. states found to cut death rates

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด