logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ดร.ภญ.มาลิน จุลศิริ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คณะเภสัชกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยซนกำลังน่าเป็นห่วง เพราะวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้หลายครอบครัวต้องซื้ออาหารจานด่วน ซึ่งส่วนใหญ่ขาดความสมดุลทางโภชนาการให้เด็กบริโภคอยู่ประจำ อีกทั้งเด็กวัยก่อนเรียนคือ 4-5 ขวบมักเริ่มที่จะบริโภคขนมและดื่มน้ำอัดลม พอถึง 6 ขวบเด็กจะติดเป็นนิสัย และยิ่งโตขึ้นคุณพ่อคุณแม่ยิ่งมีความยากลำบากในการดูแลเด็กเหล่านี้ ทำให้บ่อยครั้งเด็กเกิดปัญหาขาดสารอาหารที่จำเป็น
ขณะเดียวกันอุบัติ การณ์เกิดปัญหาของโรคอ้วนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีรายงานว่าจำนวนเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 โดยที่เด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 6-13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ภายในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านๆ มา ทั้งยังพบว่าเด็กไทยมีเชาว์ปัญญาโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยมาตรฐานที่ระดับ 90 มีมากถึง 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “การเกิดปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก นอกจากส่งผลต่อการพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของเด็กแล้ว ยังจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย โดยจะเกิดปัญหาของโรคเรื้อรังง่ายขึ้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ข้อเสื่อม เป็นต้น”
ดร.ภญ.มาลินกล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กแก้ไขไม่ยาก เพียงแต่ปฏิบัติการด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้ 1.ให้เด็กบริโภคอาหารที่เหมาะสมทุกวัน โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า เพราะอาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุด เด็กที่ได้รับอาหารเช้าจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเรียนได้เต็มที่ เพราะมีสารอาหารที่มีคุณค่าพร้อมหล่อเลี้ยงร่างกายและสมอง คุณหมอแนะนำว่าควรเป็นอาหารที่บริโภคง่ายและมีสารอาหารครบถ้วน หรือมีทั้งผักและผลไม้รวมอยู่ด้วย เพื่อความสะดวกอาจเตรียมอาหารมื้อดังกล่าวในช่วงกลางคืนแล้วอุ่นในตอนเช้าก็ ได้เช่นกัน นอกจากอาหารมื้อเช้าแล้ว อาหารในทุกมื้อควรมีสารอาหารสมดุลครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ สำหรับเด็กส่วนใหญ่ที่บริโภคอาหารกลางวันที่โรงเรียน ทางโรงเรียนควรให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมทั้งชนิดและปริมาณที่เหมาะสม สำหรับเด็ก รวมทั้งควรดูแลจูงใจเด็กในการบริโภคอาหารทุกชนิดให้หมดก่อนที่จะไปเล่น
แต่ ถ้าไม่แน่ใจว่าเด็กจะบริโภคอาหารได้อย่างสมดุล ทั้งในด้านคุณค่าสารอาหารและปริมาณสารอาหาร คุณหมอแนะนำว่า 2.ควรให้เด็กบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มเติม เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กมีโอกาสได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการ พัฒนาการ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นสำหรับเด็ก เช่น วิตามินบีชนิดต่างๆ ธาตุเหล็ก ฯลฯ รวมทั้งมีกรดอะมิโนจำเป็น เช่น ไลซีน ฯลฯ เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบในการสร้างโปรตีน
นอกจากนี้ สารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลหวานและไขมัน เช่น สารโอลิโกแซคคาไรด์ ฯลฯ ซึ่งถูกจัดเป็นใยอาหารชนิดละลายด้วยน้ำ ยังมีประโยชน์ช่วยการขับถ่ายอีกด้วย เพราะโอลิโกแซคคาไรด์ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถให้ความหวานแต่ไม่เกิดปัญหาแบบน้ำตาล สารอาหารชนิดนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ การเป็นพรีไบโอติกซึ่งจะไม่ถูกย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็ก จึงไม่ก่อปัญหาการถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสม แต่จะลงไปที่ลำไส้ใหญ่เป็นอาหารให้จุลินทรีย์ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งช่วยการขับถ่ายและเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย
3.ควรหลีก เลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น แฮมเบอร์เกอร์ เนื่องจากอาหารดังกล่าวมีส่วนประกอบหลักเป็นแป้งและเกลือ และควรงดดื่มน้ำอัดลมในเด็กเล็ก เพราะนอกจากจะทำให้ฟันผุได้แล้ว ยังเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคอ้วนในเด็กได้อีกด้วย เพราะโรคอ้วนนั้นนำมาสู่โรคร้ายแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ ดังนั้นการเลือกอาหารที่ถูกสุขอนามัยให้เด็กรับประทานตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากจะช่วยให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการด้านสมองที่สมบูรณ์แล้ว ยังเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณชาติในการดูแลผู้ป่วยเด็กในอนาคตอีกด้วย.

 

http://www.thaipost.net/x-cite/260712/60138

26 กรกฎาคม 2555

Next post > เตรียมเชื่อม 1669 กับ กทม.แก้ปัญหากู้ชีพผู้ป่วย

< Previous post สธ.เล็งชงครม.ให้เจ้าหน้าที่อปท.ใช้สิทธิฉุกเฉินได้

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด