logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.ผุดไอเดีย “อโรคยศาล” ใน 5 รพ.นำร่อง เพื่อดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่ร่างกายพิการจากอุบัติเหตุและจากโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ทุ่มงบ 54 ล้านบาท คาดเริ่มบริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
       
       นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนารูปแบบการดูผู้ที่มีความพิการจากเจ็บป่วย โดยเฉพาะจากอุบัติเหตุจราจร และจากโรคเรื้อรัง เช่นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดปัญหาตีบหรือแตก ทำให้เกิดความพิการ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพิงผู้ดูแลตลอดวัน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 2 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 1 ล้านราย และแนวโน้มจะมากขึ้นใน อนาคตจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่การที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และประชาชนป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น และไม่สามารถทำได้ด้วยการทุ่มทรัพยากรเข้าไปในระบบเดิม จำเป็นต้องสังเคราะห์ระบบใหม่และพัฒนาทีมงานที่เอื้อต่อการดูแลโรคเรื้อรัง จากการวิเคราะห์ล่าสุดในปี 2553 จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั่วประเทศมี 1.7 ล้านกว่าราย ขณะที่ในปี 2551 มีผู้ป่วย 1.4 ล้านกว่าราย หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 19 คาดว่าในปี 2558 ค่ารักษาโรคเรื้อรังของประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึงปีละ 52,000 ล้านบาท
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ในการพัฒนารูปแบบดังกล่าว กระทรวง สาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ใช้ชื่อว่า อโรคยศาล ซึ่งนำร่อง 5 แห่งในประเทศ ภาคละ 1 แห่ง ได้แก่ 1.โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2.โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 3.โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4.โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง และที่สถาบันการแพทย์แผนไทย ยศเส กรุงเทพมหานคร ใช้งบลงทุน 54 ล้านบาท ได้ให้กรมสนับสนุนบริการ พัฒนาอาคารสถานที่ที่เหมาะสม เครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น
       
       ด้านนายแพทย์อภิชัย มงคล รอง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รูปแบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของ อโรคยศาล จะอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ส่วน คือ การจัดระบบบริการสุขภาพของสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ ทั้ง สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ทีมสหวิชาชีพในการดูแลประมาณ 12 คนเป็นอย่างน้อย เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นักโภชนาการ ผู้ช่วยเหลือในการดูแลจากชุมชน โดยเชื่อมโยงกับชุมชน หมอพื้นบ้าน เพื่อการสนับสนุนทรัพยากรในชุมชนให้เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยพิการ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนตนเอง และความสามารถในการดูแลรักษาตนเองของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
       
       “ลักษณะเฉพาะของอโรคยศาล เป็นอาคารชั้นเดียว ระบบระบายอากาศดี และแยกเป็นการเฉพาะออกจากหอผู้ป่วยทั่วไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยเรื้อรังจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ภายในอาคารมีทั้งห้องผู้ป่วยรวมและห้องพิเศษ ห้องสันทนาการเพื่อทำกิจกรรม ห้องปฐมพยาบาล ห้องกายภาพบำบัด ห้องศาสนบำบัด คาดว่าจะเริ่มให้การดูแลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และจะประเมินผลในอีก 1 ปี เพื่อดำเนินการต่อในพื้นที่อื่น”รองปลัด ศธ. กล่าว

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000089949

23 กรกฎาคม 2555

Next post > Whipps Cross Hospital: Staff 'assaults' investigation

< Previous post วิจัยชี้ผู้ป่วยสูงอายุขาดระบบดูแลระยะกลาง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด