logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: คม ชัด ลึก

ฉบับวันที่: 26 พฤษภาคม 2015

วิจัยยาสูตรใหม่รักษาไวรัสตับอักเสบซี

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ผศ.พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือไฮแทป สธ.กล่าวถึงผลการศึกษาเปรียบเทียบยารักษาไวรัสตับอักเสบซี ว่าปัจจุบันในการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี มีการใช้ยาที่เรียกว่า พีอาร์ ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่าง เพ็คกิเลต อินเตอร์เฟอรอน (Pegylaated-interferon ร่วมกับ ไรบาวิริน (Ribavirin) ซึ่งเป็นยาพื้นฐานชนิดฉีด เดิมทียาตัวนี้มีราคาแพงการรักษาต่อคอร์สค่อนข้างสูง แต่ที่ผ่านมาไฮแทปได้มีการศึกษาประสิทธิภาพและความคุ้มค่าจนได้มีการบรรจุยาดังกล่าวไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติปัจจุบันเข็มละ 3,000 บาท การรักษาทั้งคอร์สประมาณ 48 สัปดาห์ราว 150,000 บาท วิธีการรักษาดังกล่าวเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามาก เช่น มีอาการโลหิตจางเหนื่อยล้า และผลข้างเคียงอื่นๆ จึงมีการมองหายาตัวใหม่ที่มาแทน
ผศ.พญ.ธัญญรัตน์ กล่าวอีกว่าปัจจุบันมียากลุ่มใหม่เรียกว่า ไดเร็ค แอคติ้ง แอนติไวรัล เอเจนท์ (Direct-acting Antiviral Agents (DAAs) ซึ่งเป็นยาที่ไปยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จึงทำให้มีประสิทธิผลสูงกว่าและพบอาการข้างเคียงน้อยกว่า โดยยากลุ่มนี้เป็นยากิน มีทั้ง ยาโซฟอสบูเวียร์ (sobosbuvir) ยาไซมีพรีเวียร์ (simeprevir) ยาดาคาทาสเวียร์ (daclatasvir) ยาเลดิพาสเวียร์ (ledipasvir) โดยทีมวิจัยได้ทบทวนผลการศึกษากว่า 846 การศึกษาทั่วโลก เบื้องต้นศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาสูตรพื้นฐานพีอาร์และยาตัวใหม่ๆ โดยการศึกษาจะพิจารณาถึงการตอบสนองการรักษาของผู้ป่วย จากการวัดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดภายหลังการรักษาเสร็จสิ้นไปแล้ว 12 สัปดาห์ และประเมินอาการข้างเคียงของยาที่ส่งผลต่อปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำ (Anemia)
“ทีมวิจัยพบว่าเมื่อมีการเจาะเลือดผู้ป่วยที่ใช้ยาสูตรพื้นฐานพีอาร์ เดี่ยวๆ ปรากฏว่าจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาอยู่ที่ร้อยละ 52.62 แต่เมื่อมีการรักษาร่วมระหว่างยาสูตรพีอาร์ และ โซฟอสบูเวียร์ พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 84.03 และถ้าหากใช้ยาพีอาร์ ร่วมกับยาไซมิพรีเวียร์ จำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาได้ร้อยละ 81.85 หรือหากใช้ยาพีอาร์ ร่วมกับยาลาคาทาสเวียร์จะมีจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการใช้ยาร้อยละ 63.53 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการใช้ยาสูตรผสมระหว่างยาฉีดสูตรพื้นฐานพีอาร์และยาตัวใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีใช้ในไทย มีประสิทธิภาพมากกว่าใช้ยาพีอาร์ เดี่ยวๆ อย่างมีนัยสำคัญ” ผศ.พญ.ธัญญรัตน์ กล่าว

27 พฤษภาคม 2558

Next post > วิจัยความคุ้มค่าคัดกรองมะเร็งช่องปากช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคได้

< Previous post ชง2ทางคุมราคายารพ.เอกชนออกใบสั่งยาคนไข้ซื้อเองคิดราคาต้นทุนโรงงาน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด